Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรทแต่ละชนิดได้ไม่เท่ากัน โดยสามารถใช้คาร์โบไฮ

                     เดรทที่สามารถละลายได้ (nitrogen-free-extract: NfE) ซึ่งได้แก่ แป้ง น้ำตาล ที่สัตว์ใช้เป็น

                     แหล่งพลังงานหลัก แต่สารประกอบชนิดอื่นในส่วนนี้ อาทิสารโอลิโกแซคคาไรด์

                     (oligosaccharides) และสารเพคติน (pectin) แม้ว่ามีคุณสมบัติในการละลายได้เช่นเดียวกัน


                     แต่สัตว์มีความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน  คาร์โบไฮเดรทอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็น

                     องค์ประกอบของผนังเซลล์ของพืช เช่น เซลลูโลส  เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และ

                     ลิกนิน (lignin) มีคุณสมบัติไม่ละลายในสารละลายที่เป็นกรดหรือด่างอย่างอ่อน สัตว์สามารถ

                     นำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือไม่ได้เลย จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า เยื่อใยรวม (crude fiber)

                     โดยกลุ่มของคาร์โบไฮเดรทที่นอกเหนือจากแป้งและน้ำตาลเหล่านี้เรียกรวมว่า คาร์โบไฮเดรท


                     ที่ไม่ใช่แป้ง (non-starch  polysaccharide: NSP) (รูปที่ 1-2)  สารกลุ่มนี้จะเป็นตัวกำหนด

                     คุณภาพของอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว ถ้ามีคาร์โบไฮเดรทที่ไม่ใช่แป้งสูงมากขึ้นมีผลให้

                     คุณภาพของอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยวด้อยลง เนื่องจากร่างกายสัตว์ขาดเอ็นไซม์ที่ใช้

                     ย่อยสลายโครงสร้างดังกล่าว


                                             คาร์โบไฮเดรท (carbohydrate)




                               เยื่อใยรวม                        คาร์โบไฮเดรทที่ละลายได้

                            (crude fiber)                      (nitrogen free extract: NfE)


                       ลิกนิน       เซลลูโลส  เฮมิเซลลูโลส     เพคติน   โอลิโกแซคคาไรด์      แป้งและน้ำตาล

                      (lignin) (cellulose) (hemicellulose) (pectin)    (oligosaccharide)  (starch & sugar)



                         คาร์โบไฮเดรทที่ไม่ใช่แป้ง (non-starch polysaccharide: NSP)



                               รูปที่ 1-2: การแบ่งประเภทของคาร์โบไฮเดรทในแหล่งอาหารจากพืช


                                  ที่มา: Verdonk et al. (1997)






                     ส่วนประกอบของอาหาร                                                              3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11