Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• โปรตีนที่ไม่ถูกจุลินทรีย์ย่อยหรือ by-pass protein
จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนมีความสามารถในการย่อยโปรตีนจากวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด
ได้ไม่เท่ากัน (ตารางที่ 6-3) วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดถูกย่อยในกระเพาะรูเมนได้สูง เช่น
หญ้าสดหรือหญ้าหมัก เป็นต้น ผลผลิตจากการย่อยของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นแอมโมเนียซึ่ง
จุลินทรีย์ใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนในการสังเคราะห์โปรตีนของตัวเอง แต่โปรตีนจากวัตถุดิบ
อาหารสัตว์บางชนิด เช่น ปลาป่นและกากถั่วเหลือง จะถูกจุลินทรีย์ย่อยได้ต่ำกว่าเป็นผลให้มี
โปรตีนเหลือผ่านไปสู่กระเพาะอาหารจริงและลำไส้เล็กของสัตว์ได้มากขึ้น โปรตีนที่ทนต่อการ
ย่อยของจุลินทรีย์นี้เรียกว่า“By–pass protein หรือ undegradable protein” ที่เป็น
ประโยชน์ต่อตัวสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับกรดอะมิโนเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากโปรตีนจากจุลินทรีย์
ซึ่งจะเป็นผลดีในกรณีที่สัตว์อยู่ในช่วงให้ผลผลิตสูง เช่น โคนมที่ให้น้ำนมมากจะมีความต้อง-
การสารอาหารทั้งโปรตีนและพลังงานสูงขึ้น แม้ว่าโปรตีนที่ได้จากจุลินทรีย์จะมีคุณภาพ
ค่อนข้างดีแต่มีข้อจำกัดคือมีกรดอะมิโนเมทไธโอนีนต่ำ ทำให้สัตว์ได้รับไม่เพียงพอ ดังนั้นใน
การคำนวณสูตรอาหารจำเป็นต้องเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เหมาะสม เพื่อให้อาหารมี
โปรตีนที่ถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ตามปริมาณผลผลิตของสัตว์ (ตารางที่ 6-4)
ตารางที่ 6-3: อัตราการถูกย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด
อัตราการถูกย่อยสลายของโปรตีน (%)
(55–75) (65–85) (75–95)
ปลาป่น ข้าวโพดหมัก หญ้าสด
กากถั่วเหลือง กากเมล็ดทานตะวันอัดน้ำมัน/ หญ้าหมัก
กากเมล็ดฝ้ายอัดน้ำมัน/ สกัดน้ำมัน ฟาง
สกัดน้ำมัน กากถั่วลิสงอัดน้ำมัน/ สกัด ข้าวสาลี
กากเบียร์ น้ำมัน ข้าวบาร์เลย์
ข้าวโพดเมล็ด กากเนื้อในปาล์มอัดน้ำมัน/สกัด
พืชแห้งสีเขียว น้ำมัน
กากเรฟซีดสกัดน้ำมัน
รำข้าวสาลี
ที่มา: Kirchgessner (1997)
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 85