Page 83 -
P. 83
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาร์เอ็นเอ (RNA) มีส่วนประกอบของเบสและมีคุณสมบัติตลอดจนหน้าที่แตกต่างจากดีเอ็น
เอ โดยน้ำตาลที่อยู่ในโครงสร้างเป็นน้ำตาลไรโบสและเบสที่พบเป็นยูเรซิลแทนที่ไธมีน อาร์
เอ็นเอที่พบในร่างกายมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับขนาดของโมเลกุล โดยแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่าง
กัน คือ messenger RNA (m-RNA) มีหน้าที่เป็นตัวพารหัสข้อมูลในการสังเคราะห์โปรตีน
ส่วน ribosomal RNA เป็นบริเวณที่เกิดการสังเคราะห์โปรตีน และ transfer RNA
(t-RNA) เป็นตัวพากรดอะมิโนเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน จุลินทรีย์หรือสิ่งมี-
ชีวิตเซลล์เดียว (single cell) เป็นแหล่งที่พบกรดนิวคลีอิคในระดับสูง โดยสาหร่ายพบประ-
มาณ 6-13% ยีสต์ 13-20% และแบคทีเรีย 15-25% ร่างกายสัตว์สามารถใช้กรดนิวคลีอิค
เป็นแหล่งไนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นบางชนิด หากสัตว์ได้รับใน
ปริมาณมากและไม่ถูกใช้ประโยชน์ ร่างกายจะเปลี่ยนกรดนิวคลีอิคเหล่านี้ให้อยู่ในรูปกรดยูริค
การย่อยและการดูดซึมโปรตีนในสัตว์กระเพาะเดี่ยว
การย่อยโปรตีนในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กของสัตว์ โดยเอ็น-
ไซม์กลุ่มที่ย่อยโปรตีนหลายชนิด จนได้กรดอะมิโนอิสระและเปปไทด์สายสั้น ซึ่งสามารถแบ่ง
เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนเป็น 2 กลุ่มคือ
1. เอ็นโดเปปติเดส (endopeptidases) เอ็นไซม์กลุ่มนี้จะทำการย่อยพันธะเปปไทด์ภายใน
สายโปรตีนและที่ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงเท่านั้นได้แก่ เปปซิน (pepsin) ทริฟซิน (trypsin) ไค
โมทริฟซิน (chymotrypsin) อีลาสเตส (elastase) และเรนนิน (rennin) โดยทริฟซินจะ
ย่อยตรงตำแหน่งกรดอะมิโนไลซีนและอาร์จินีน ส่วนเปปซินจะย่อยตรงตำแหน่งกรดอะมิโนฟี
นิลอะลานีนและไทโรซีน เป็นต้น ร่างกายของสัตว์จะหลั่งเอ็นไซม์ในกลุ่มนี้ในรูปที่ไม่สามารถ
ทำงานได้ (inactive form) จำเป็นต้องมีสารกระตุ้นจึงจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ทำงานได้
(active form) เช่นเปปซิโนเจนที่หลั่งในกระเพาะอาหารจะต้องถูกกระตุ้นด้วยกรดเกลือ
(HCl) จึงจะเปลี่ยนเป็นเปปซิน เป็นต้น (รูปที่ 6-12) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เอ็นไซม์เหล่านี้
ย่อยเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารของสัตว์เอง
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 80