Page 85 -
P. 85
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความยาวสั้นลงและกรดอะมิโนอิสระจำนวนเล็กน้อย ค่า pH ที่เหมาะสมกับการทำงานของ
เปปซินอยู่ในช่วง 2-3.5 โดยประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงเมื่อค่า pH สูงกว่า 3.6 และจะ
ไม่ทำงานเลยเมื่อค่า pH มากกว่า 6.0
การย่อยที่ลำไส้เล็ก เกิดขึ้นจากการทำงานของเอ็นไซม์ที่หลั่งจากตับอ่อน (pancreatic
enzymes) คือ ทริฟซิน ไคโมทริฟซิน เอ บี และซี รวมทั้งคาร์บอกซีเปปติเดส เอ และบี
รวมทั้งอีลาสเตส โดยทริฟซินจะย่อยพันธะเปปไทด์ตรงหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโนที่เป็น
เบส อาทิ อาร์จินีนและไลซีน ส่วนไคโมทริฟซิน เอ บี และซี กับคาร์บอกซีเปปติเดส เอ จะ
ย่อยพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโนกลุ่มอะโรมาติก ในขณะที่คาร์บอกซีเปปติเดส บี ย่อย
พันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโนกลุ่มเบส และอีลาสเตสจะย่อยพันธะเปปไทด์ด้านหมู่คาร์บอกซิ
ลของกรดอะมิโนที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง ผลจากการย่อยด้วยเอ็นไซม์ที่หลั่งมาจากตับอ่อน
เหล่านี้จะได้เปปไทด์สายสั้นและกรดอะมิโนอิสระ เปปไทด์สายสั้นที่มีกรดอะมิโนเท่ากับหรือ
น้อยกว่า 6 ตัวเรียกว่า“โอลิโกเปปไทด์ (oligopeptides)”จะถูกเอ็นไซม์ที่หลั่งบริเวณลำไส้
เล็กคืออินเทสทีนอลอะมิโนเปปติเดส (intestinal aminopeptidase) และไดเปปติเดส
ย่อยพันธะเปปไทด์ด้านหมู่อะมิโนได้เป็นกรดอะมิโนอิสระ ไดเปปไทด์และไตรเปปไทด์แล้วดูด
ซึมเข้าสู่ร่างกายต่อไป การย่อยและการดูดซึมโปรตีนจะสิ้นสุดที่ลำไส้เล็กส่วนปลายหรือส่วน
ไอเลียมของสัตว์กระเพาะเดี่ยว การย่อยโปรตีนในส่วนลำไส้ใหญ่มักเกิดจากการทำงานของ
จุลินทรีย์และผลผลิตที่ได้จะอยู่ในรูปของโปรตีนของจุลินทรีย์ แอมโมเนีย อะมีน และอะมีด
ซึ่งร่างกายสัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่สามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนได้
การดูดซึมกรดอะมิโน
กรดอะมิโนที่ได้จากการย่อยจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว
โดยกรดอะมิโนในรูป L-form จะดูดซึมได้ดีกว่าในรูปของ D-form และการดูดซึมในรูปของ
L-form จำเป็นต้องใช้พลังงาน (ATP) ด้วยวิธีการที่เรียกว่าการขนส่งแบบกัมมันต์หรือ
“active transport” นอกจากนี้ในกระบวนการดูดซึมจำเป็นต้องอาศัยแร่ธาตุโซเดียม (Na)
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 82