Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.2 การดึงหมู่คาร์บอกซิล (decarboxylation) เป็นการดึงหมู่คาร์บอกซิลออกจาก
โครงสร้างของกรดอะมิโน ได้คาร์บอนไดออกไซด์และสารประกอบประเภทอะมีน (รูปที่6-20)
ซึ่งสารอะมีนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ในการสร้างสารชีวภาพต่าง ๆ อาทิ ฮอร์โมน
และโคเอ็นไซม์ (ตารางที่ 6-5) ซึ่งมีบทบาทต่อเมแทบอลิซึมของร่างกาย
R R + CO
HOOCCHNH CH NH 2
2
2
2
กรดอะมิโน สารอะมีน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
รูปที่ 6-20: กระบวนการดึงหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโน
ที่มา: Bondi (1987)
ตารางที่ 6-5 : สารอะมีนบางชนิดที่ได้จากการสลายกรดอะมิโน
กรดอะมิโน สารอะมีน
อาร์จินีน พูทรีซีน (putrescine)
ฮีสติดีน ฮีสตามีน (histamine)
ไลซีน คาดาเวอรีน (cadaverine)
ฟีนิลอะลานีน ฟีนิลเอทิลลามีน (phenylethylamine)
ไทโรซีน ไทรามีน (tyramine)
ทริฟโตเฟน ทริฟตามีน (tryptamine)
ที่มา: McDonald et al. (1995)
การสังเคราะห์โปรตีน (protein synthesis)
กรดอะมิโนที่สัตว์ได้รับจากอาหารและที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกายทั้ง
กรดอะมิโนที่จำเป็นและกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น จะถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนโดย
ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 6-21 โดยเริ่มจากดีเอ็นเอจะถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับรหัส
และลำดับของกรดอะมิโนของโปรตีนแต่ละชนิดให้กับ messenger RNA (mRNA) (ขั้นตอน
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 90