Page 95 -
P. 95

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     โปรตีนที่สร้างขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ตลอดจนกรดอะมิโนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์จะไม่

                     สามารถเก็บสะสมในร่างกายสัตว์ในรูปของกรดอะมิโนได้ ร่างกายจำเป็นต้องขับออกในรูป

                     ของยูเรียหรือกรดยูริค ด้วยเหตุนี้กรดอะมิโนที่มีปริมาณน้อยจึงมักเป็นตัวจำกัดการสังเคราะห์

                     โปรตีนหรือเรียกว่า “first-limiting amino acid” ซึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่มักมี


                     กรดอะมิโนไลซีนอยู่น้อย ในขณะที่ร่างกายมีความต้องการไลซีนในการสังเคราะห์โปรตีนมาก

                     จึงทำให้ไลซีนมักเป็นกรดอะมิโนที่เป็นตัวจำกัดตัวแรกในอาหารสุกร ในขณะที่กรดอะมิโนเมท

                     ไธโอนีนเป็นกรดอะมิโนที่เป็นตัวจำกัดตัวแรกในอาหารสัตว์ปีก เนื่องจากสัตว์ปีกมีความ

                     ต้องการกรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ (เมทไธโอนีน& ซีสเตอีน) ในปริมาณสูงเพื่อ

                     ใช้ในการสร้างโปรตีนชนิดเคอราตินที่พบในขน



                     คุณภาพโปรตีน


                     คุณภาพของโปรตีนในอาหารจะเกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายสัตว์ โปรตีนที่มี

                     คุณภาพดีสัตว์จะสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายได้ดีด้วย  ซึ่งโปรตีนที่มี

                     คุณภาพดีจะต้องมีลักษณะคือ 1) สัตว์ย่อยได้ง่าย และ 2) ประกอบด้วยกรดอะมิโนชนิด


                     ต่างๆ ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมกับการสังเคราะห์ของโปรตีนเป้าหมายของร่างกาย

                     ในปัจจุบันจึงได้มีการใช้หลักการ “โปรตีนในอุดมคติ หรือ ideal protein” เพื่อเพิ่มประ-

                     สิทธิภาพในการคำนวณสูตรอาหารสัตว์ ซึ่งโปรตีนในอุดมคตินี้หมายถึง "สัดส่วนของกรดอะ

                     มิโนที่จำเป็นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างโปรตีนในเนื้อเยื่อเป้าหมาย” โปรตีนในอุดมคตินี้

                     ได้จากการวัดปริมาณของกรดอะมิโนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนที่จำเป็นในเนื้อเยื่อ


                     เป้าหมาย และมีการเทียบสัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละชนิดกับกรดอะมิโนไลซีน โดยให้กรด-

                     อะมิโนไลซีนมีค่าเท่ากับ 1 หรือ 100 ค่าโปรตีนในอุดมคติของแต่ละเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันดัง

                     แสดงในตารางที่ 6-6 อีกทั้งสัตว์แต่ละชนิดและแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตจะมีค่าโปรตีน

                     ในอุดมคติแตกต่างกันด้วย









                     สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ                                                       92
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100