Page 96 -
P. 96
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 6-6: ตัวอย่างค่าโปรตีนในอุดมคติสำหรับสัตว์ชนิดต่างๆ
1
3
5
6
4
2
กรดอะมิโน สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด นกกระทา โคนม
ไลซีน 100 100 100 100 100 100
เมทไธโอนีน&ซีสตีน 60 75 85.9 83.2 57.7 48.7
ทรีโอนีน 66 63 70.3 66.3 78.5 55.3
ทริฟโตเฟน 18.5 18 21.9 19.1 16.9 13.7
ไอโซลิวซีน 60 72 78.1 77.5 75.4 62.9
ลิวซีน 111 125 114.1 132.6 130 96.9
ฟีนิลอะลานีน&ไทโรซีน 120 121 125.3 143.8 138.5 91.3
ฮีสติดีน - 40 25 43.8 27.7 36.4
วาลีน 75 79 85.9 88.8 73.1 66.3
ไกลซีน& เซอร์รีน - 131 78 127 - -
3
หมายเหตุ: Wang and Fuller (1990): Cole and Van Lunen (1994): คำนวนจาก ARC (1975):
2
1.
5
4 คำนวนจาก NRC (1994): Merchen and Titgemeyer (1992) อ้างโดย Cole and Van Lunen (1994):
6 Ross (1997)
การใช้ประโยชน์ของโปรตีนในร่างกายนอกจากโปรตีนต้องมีคุณภาพดีแล้ว สัตว์จำเป็นต้อง
ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ ดังนั้นในการคำนวนสูตรอาหารจึงต้องคำนึงถึงสัดส่วนระหว่าง
พลังงานและโปรตีนในอาหาร (C : N ratio) หรือสัดส่วนของกรดอะมิโนไลซีนต่อพลังงานที่
เหมาะสมในอาหารด้วย เพื่อให้สัตว์สามารถสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิ-
ภาพ และเกิดการขับกรดอะมิโนส่วนที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ออกจากร่างกายลดลง ซึ่งจะเป็นการ
ลดต้นทุนค่าอาหารและเป็นการลดปัญหามลภาวะที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ได้ทางหนึ่ง
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 93