Page 63 -
P. 63

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     ตารางที่ 5-4: ความเร็วในการดูดซึมของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดต่างๆ (เมื่อกลูโคส = 100)


                                  น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว                      ความเร็วในการดูดซึม

                                        กลูโคส                                     100

                                      กาแลคโตส                                     110
                                       ฟรุคโตส                                     43

                                       แมนโนส                                      19

                                        ไซโลส                                      15

                                      อาราบิโนส                                     9

                     ที่มา:  Kirchgessner (1997)



                     การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรทสัตว์กระเพาะรวม


                     สำหรับสัตว์กระเพาะรวมนั้น คาร์โบไฮเดรทในอาหารทั้งแป้ง น้ำตาล และสารคาร์โบไฮเดรท

                     ที่ไม่ใช่แป้งจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนซึ่งมีหลายกลุ่ม โดยจุลินทรีย์แต่ละกลุ่ม


                     ต้องการสารอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน (ตารางที่ 5-5) ผลที่ได้จากการย่อย

                     คาร์โบไฮเดรทของจุลินทรีย์จะแตกต่างจากกรณีของสัตว์กระเพาะเดี่ยวที่ผลสุดท้ายได้น้ำตาล

                     โมเลกุลเดี่ยว แต่ในสัตว์กระเพาะรวมนั้นกลุ่มเยื่อใยในอาหารอาทิ เซลลูโลส  เฮมิเซลลูโลส

                     ฟรุคโตแซน (fructosan) สารเพคตินและคาร์โบไฮเดรทที่ละลายน้ำได้จะถูกหมักย่อยได้เป็น

                     ไพรูเวท (pyruvate) และผลิตผลสุดท้ายคือกรดไขมันที่ระเหยง่าย (volatile fatty acid:


                     VFA) อาทิ กรดอะซิติค กรดโปรปิโอนิค และกรดบิวทิริค เป็นต้น (รูปที่ 5-6) แต่เอ็นไซม์จาก

                     จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยส่วนลิกนินในอาหารได้ ยกเว้นจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของสัตว์บาง

                     ชนิด เช่นกระบือจะสามารถหมักย่อยลิกนินได้  สัดส่วนของกรดไขมันที่ระเหยง่ายทั้ง 3 ชนิด

                     จะแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของคาร์โบไฮเดรทในอาหาร (ตารางที่ 5-6) อาหารที่มีระดับเยื่อใย

                     สูงจะเกิดสัดส่วนของกรดอะซิติคสูงกว่ากรดโปรบิโอนิคและกรดบิวทีริค แต่หากในอาหารมี


                     แป้งหรือน้ำตาลในระดับสูงจะเกิดกรดโปรบิโอนิค และกรดบิวทิริคสูงกว่ากรดอะซิติค ซึ่งสัตว์

                     จะนำกรดไขมันทั้ง 3 ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในร่างกายด้วยวิถีทางที่แตกต่างกัน




                     คาร์โบไฮเดรท                                                                     60
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68