Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     กรดไขมันทั้ง 3 ชนิดนี้จะดูดซึมผ่านผนังรูเมนด้วยวิธีการแพร่ที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานแต่ขึ้นกับ

                     ความเข้มข้นของสารในกระเพาะรูเมนและในเลือด โดยดูดซึมในรูปเกลือของกรดหรือกรด

                     อิสระ ซึ่งการดูดซึมในรูปกรดอิสระจะเร็วกว่าในรูปของเกลือ นอกจากนี้ความเร็วในการดูดซึม

                     จะเพิ่มขึ้นเมื่อค่า pH ในกระเพาะรูเมนลดลง ในกรณีที่สัตว์ได้รับแป้งและน้ำตาลมากจะเกิด


                     การสร้างกรดโปรบิโอนิคมาก ทำให้ค่า pH ในกระเพาะรูเมนลดลงต่ำกว่า 6 ซึ่งมีผลให้

                     จุลินทรีย์ที่ย่อยเยื่อใยในอาหารจะทำงานไม่ได้ เนื่องจากต้องการค่า pH ที่เป็นกลางในการ

                     เจริญเติบโต ส่งผลให้กรดโปรบิโอนิคถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติคมากขึ้น และกระตุ้นให้

                     จุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติคทำงานมากขึ้น เกิดสภาพเป็นกรดในกระเพาะรูเมนและในเลือดที่

                     เรียกว่า “acidosis” มีผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง สัตว์กินอาหารลดลง และในรายรุนแรงอาจ


                     พบอาการท้องเสียและการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นจนถึงตายได้


                     ตารางที่ 5-5: กลุ่มของจุลินทรีย์ที่พบในกระเพาะรูเมน


                                 กลุ่มของจุลินทรีย์                           ชนิดจุลินทรีย์

                     กลุ่มที่ย่อยเยื่อใย                                 Ruminococcus albus

                     (fiber digesters)                                Ruminococcus flavefaciens

                                                                       Fibrobacter succinogenes

                     กลุ่มที่ย่อยแป้งและน้ำตาล                            Streptococcus bovis
                     (starch &sugar fermenters)                       Ruminobacter amylophilus

                     กลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค (lactate                     Megasphaera   elsdenii

                     fermenters)                                       Selenomonas  lactilytica

                     กลุ่มที่ใช้มีเทน (methanogens)               Methanobrevibacter  ruminantium

                     กลุ่มเชื้อรา (fungi)                               Piromonas  communis

                                                                      Sphaeromonas  communis

                     ที่มา: McDonald et al.(2002)








                     คาร์โบไฮเดรท                                                                     61
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69