Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• อินนูลิน (inulin) เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตสด้วย
พันธะเบต้า 2, 1 ฟรุคโตไซด์ (- 2, 1 fructosidic linkage) พบในพืชบางชนิด มีคุณสมบัติ
เป็นสารพรีไบโอติค (prebiotics) ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย โดยเป็นอาหาร
สำหรับจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร
4. เฮตเตอร์โรโพลีแซคคาไรด์ และลิกนิน (heteropolysaccharide and lignin) เป็นคาร์
โบไฮเดรทที่รวมกับสารประกอบชนิดอื่นได้แก่ เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ซึ่ง
ประกอบด้วยน้ำตาลเฮกซ์โซส เพนโตส และกรดยูโรนิค (uronic acid)
• สารเพคติน (pectin) หรือกรดเพคติค (pectic acid) จัดเป็นสารในกลุ่มเฮมิเซลลู-
โลสชนิดหนึ่งที่พบมากในผลไม้ มีโครงสร้างเป็นกรดกาแลคทูโรนิคหลายโมเลกุล เกาะกันด้วย
พันธะแอลฟ่า 1, 4 ไกลโคไซด์ ดังแสดงในรูปที่ 5-4(ก) มีคุณสมบัติเปลี่ยนเป็นเจลเมื่อรวมตัว
กับน้ำ เพคตินมีผลลดการย่อยได้ของสารอาหาร เนื่องจากสามารถจับกับสารอาหารอื่นทำให้
เอ็นไซม์จากสัตว์ไม่สามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้
• สารไคติน (chitin) เป็นสารเฮมิเซลลูโลสอีกชนิดหนึ่ง พบในส่วนผนังเซลล์ของพืช
ชั้นต่ำและเปลือกของแมลง ไคตินประกอบด้วย N-acetyl–glucosamine ต่อกันเป็นสายตรง
ด้วยพันธะเบต้า 1,4 ไกลโคไซด์ ( 1-4 glycosidic linkage) (รูปที่ 5-4ข) สามารถถูกย่อย
ด้วยเอ็นไซม์ไคติเนส (chitinase) ที่พบในสัตว์และจุลินทรีย์
H O COO - H O
H
O
H OH H O O O H H OH H (ก) กรดเพคติค
H
O O H H H H O O
H
COO - O H O COO-
H
H
O
CH OH H H C CH CH OH
2
2
3
H O O
(ข) ไคติน H O O N H H H H O
H O H H H H O O O H H
H
H
H
O H H C CH CH OH H H C CH
3
3
2
N O N O
N-acetylglucosamine
รูปที่ 5-4: โครงสร้างของเฮมิเซลลูโลสบางชนิด
คาร์โบไฮเดรท 56