Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     • เป็นส่วนประกอบของสารสำคัญในร่างกาย เช่น น้ำตาลไรโบสเป็นองค์ประกอบของดีเอ็น

                     เอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม

                     และการสังเคราะห์โปรตีน




                     การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรทในสัตว์กระเพาะเดี่ยว


                     สัตว์กระเพาะเดี่ยวสามารถใช้ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรทได้เฉพาะแป้งและน้ำตาลเท่านั้น

                     แต่ไม่สามารถย่อยกลุ่มของสารคาร์โบไฮเดรทที่ไม่ใช่แป้ง (NSP) กระบวนการย่อยคาร์โบไฮ

                     เดรทเริ่มต้นที่ปากด้วยเอ็นไซม์อะไมเลสในน้ำลาย การย่อยในปากมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

                     เนื่องจากอาหารอยู่ในปากเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่การย่อยที่สำคัญเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กโดย


                     เอ็นไซม์แอลฟ่า-อะไมเลส (- amylase) จากตับอ่อนจะย่อยแป้งได้เป็นเดกตรินส์ มอลโตส

                     และไอโซมอลโตสตามลำดับ ซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่ผนังเซลล์ลำไส้เล็ก และที่บริเวณผนังลำไส้ของ

                     สัตว์มอลโตส ไอโซมอลโตสและเดกซ์ตรินจะถูกเอ็นไซม์มอลเตสและไอโซมอลเตส ย่อยได้


                     น้ำตาลกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนน้ำตาลซูโครสและแลคโตสจะถูกย่อยได้

                     น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน (ตารางที่ 5-3) กลไกการดูดซึม

                                                                                                 + +
                     น้ำตาลกลูโคสและกาแลคโตสเข้าสู่ร่างกายสัตว์มีความเกี่ยวข้องกับแร่ธาตุโซเดียม (Na -K -
                     pump) โดยอาศัยโซเดียมเป็นตัวพาเข้าไปจากที่มีความเข้มข้นต่ำไปสู่ที่มีความเข้มข้นสูง และ

                     ต้องใช้พลังงาน (ATP) ในการดูดซึม (active transport) ในขณะที่การดูดซึมน้ำตาลฟรุคโตส


                     จะอาศัยการแพร่จากที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ที่มีความเข้มข้นต่ำโดยไม่ต้องใช้พลังงาน

                     (passive transport) น้ำตาลแต่ละชนิดจะมีอัตราความเร็วในการดูดซึมแตกต่างกันดังแสดง

                     ในตารางที่ 5-4 โดยความเร็วในการดูดซึมของน้ำตาลฟรุคโตสมีค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ

                     กลูโคสและกาแลคโตสเป็นเหตุให้การใช้น้ำตาลซูโครสซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสกับฟรุค

                     โตสในอาหารสัตว์จะมีน้ำตาลฟรุคโตสเหลือในระบบทางเดินอาหารมาก ซึ่งจะเป็นอาหารของ


                     จุลินทรีย์โดยเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคในลำไส้ส่วนปลาย ส่งผลให้สัตว์เกิดอาการท้องเสียได้







                     คาร์โบไฮเดรท                                                                     58
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66