Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     ตารางที่ 5-1: สัดส่วนของอะไมโลสและอะไมโลเพคตินในแป้งของธัญพืชบางชนิด (%)


                               ธัญพืช                                   แป้ง

                                                         อะไมโลส               อะไมโลเพคติน

                     ข้าวโพดมาตรฐาน                         24                        76
                     ข้าวโพด waxy corn                       1                        99

                     ข้าวเจ้า                               20                        80

                     มันฝรั่ง                               20                        80

                     ข้าวสาลี                               24                        76

                     ที่มา:  Pond  et al. (1995)


                               • เดกตรินส์ (dextrins) เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการย่อยแป้ง ซึ่งเมื่อถูกย่อย

                     ต่อไปจะได้มอลโตสและน้ำตาลกลูโคส ตามลำดับ


                               • ไกลโคเจน (glycogen) เป็นคาร์โบไฮเดรทที่สะสมในร่างกายสัตว์พบใน

                     เนื้อเยื่อตับและกล้ามเนื้อ อาจเรียกชื่อหนึ่งว่า “animal starch” เกิดจากการรวมตัวของ

                     กลูโคสเกาะกันด้วยพันธะแอลฟ่า 1,4 และแอลฟ่า 1,6-ไกลโคไซด์ คล้ายคลึงกับอะไมโล

                     เพคตินในแป้ง แต่ขนาดโมเลกุลใหญ่กว่ามาก


                               • เซลลูโลส (cellulose) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของพืช เกิดจากการ

                     เรียงตัวของน้ำตาลกลูโคสต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเบต้า 1,4 -ไกลโคไซด์ ไม่มีกิ่งก้าน-

                     สาขา ซึ่งร่างกายสัตว์ไม่มีเอ็นไซม์ที่ย่อยพันธะนี้ (รูปที่ 5-3)



                                          CH OH          H    OH        CH OH
                                                                          2
                                            2
                                       H       O    O            H   H       O    O
                                          H              OH   H         H
                                    O     OH   H   H   H   H   O   O    OH   H   H
                                          H    OH        CH 2 OH        H    OH

                                                                   1,4-glycosidic linkage

                                             รูปที่ 5-3: โครงสร้างของเซลลูโลส






                     คาร์โบไฮเดรท                                                                     55
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63