Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
คาร์โบไฮเดรท
คาร์โบไฮเดรทเป็นสารอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H)
เป็นกลุ่มที่พบมากในเนื้อเยื่อจากพืช ส่วนเนื้อเยื่อจากสัตว์พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สัตว์ใช้
สารในกลุ่มนี้เพื่อเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย คาร์โบไฮเดรทที่พบในเนื้อเยื่อพืชและ
สัตว์สามารถแบ่งตามลักษณะของโครงสร้างได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) มีหลายชนิดขึ้นกับจำนวนคาร์บอนในโครง-
สร้าง (รูปที่ 5-1) ดังนี้
1.1 น้ำตาลที่มีคาร์บอน 3 อะตอม เรียกว่าน้ำตาลไตรโอส (triose) เช่นกลีเซอรอลดี
ไฮด์ (glyceraldehyde) และไดไฮดรอกซีอะซิโทน (dihydroxyacetone)
1.2 น้ำตาลที่มีคาร์บอน 4 อะตอม เรียกว่าน้ำตาลเตโตรส (tetrose) เช่น น้ำตาลอีรี
โทรส (erythrose)
1.3 น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม เรียกว่าน้ำตาลเพนโตส (pentose) ได้แก่น้ำตาลไร
โบส (ribose) อะราบิโนส (arabinose) และไซโลส (xylose)
1.4 น้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม เรียกว่าน้ำตาลเฮกซ์โซส (hexose) ได้แก่น้ำตาล
กลูโคส (glucose) แมนโนส (mannose) กาแลคโตส (galactose) และฟรุคโตส (fructose)
1.5 น้ำตาลที่มีคาร์บอน 7 อะตอม เรียกว่าน้ำตาลเฮพโตส (heptose) ได้แก่น้ำตาล
เซโดเฮพทูโลส (sedoheptulose)
2. โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharides) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตั้งแต่ 2-10
โมเลกุล แบ่งออกเป็น
2.1 น้ำตาลโมเลกุลคู่หรือไดแซคคาไรด์ (disaccharides) เกิดจากน้ำตาลโมเลกุล
เดี่ยว 2 โมเลกุลต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) พบทั่วไปในอาหารเช่น
คาร์โบไฮเดรท 52