Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 4-7: ระดับสูงสุดของแร่ธาตุ/สารประกอบในน้ำที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์(มก./มล.)
แร่ธาตุ/สารประกอบ CSIRO NAC แร่ธาตุ/สารประกอบ CSIRO NAC
(1987) (1974) (1987) (1974)
Total dissolved salts 6,000 5,000 โครเมียม (chromium) 1.0 1.0
-
ไบคาร์บอเนต (HCO ) 1,000 - โคบอลท์ (cobalt) - 1.0
3
2+
แคลเซียม (Ca ) 1,000 - ทองแดง (copper) 0.5 0.1
ฟลูออไรด์ (F) 2 2 ตะกั่ว (lead) 0.5 0.5
-
แมกนีเซียม (Mg ) 400 - ปรอท (mercury) 0.002 0.01
2+
ไนเตรท (nitrate) 500 100 นิเกิล (nickel) 5.0 1.0
ไนไตรท์ (nitrite) 100 10 วานาเดียม (vanadium) - 0.1
ซัลเฟต (sulphate) 1,000 - สังกะสี (zinc) 20.0 25.0
สารหนู (arsenic) 0.5 0.2 ซีลีเนียม (selenium) 0.02 -
แคดเมียม (cadmium) 0.01 0.02
4. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในน้ำ ค่า pH ของน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 6.5-8.5
(Fraser et. al., 1993) อย่างไรก็ตามค่า pH จะมีผลต่อการกินน้ำของสัตว์เพียงเล็กน้อย
เท่านั้น (ตารางที่ 4-8) แต่จะมีผลกระทบทางอ้อมต่อการเลี้ยงสัตว์คือน้ำที่มีค่า pH ต่ำจะทำให้
เกิดปัญหาการตกตะกอนของสารปฏิชีวนะบางชนิดที่ให้กับสัตว์ด้วยวิธีการละลายน้ำ และหาก
ค่า pH สูงกว่าระดับที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค
5. ความกระด้าง (hardness) ปัญหาน้ำกระด้างเกิดจากมีเกลือของแร่ธาตุบางชนิดสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียม น้ำกระด้างปกติจะมีค่าความกระด้างอยู่
ระหว่าง 120-180 มก./มล. หากค่าความกระด้างต่ำกว่า 60 มก./มล. จัดเป็นน้ำอ่อน และ
หากมีค่าสูงเกินกว่า 180 มก./มล.จัดเป็นน้ำกระด้างมาก (Durfor and Becker, 1964) น้ำ
กระด้างจะทำให้เกิดปัญหาตะกรันเกาะตามระบบท่อน้ำในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และสัตว์อาจ
ได้รับแร่ธาตุแคลเซียมมากเกินไป
น้ำและบทบาทในร่างกาย 48