Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. การควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย น้ำมีคุณสมบัติการเป็นตัวนำความร้อนที่ดีและมีความ
ร้อนแฝงในการระเหยสูง ดังนั้นสัตว์สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่โดยการ
ปรับการกินและการขับน้ำออกจากร่างกาย ในภาวะที่สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงร่างกายสัตว์
จะตอบสนองโดยการกินน้ำมากขึ้น และมีการขับน้ำออกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิใน
ร่างกายลง
3. ทำหน้าที่เป็นตัวพาสารอาหาร ไปยังเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อเป้าหมายและนำของเสียจาก
เซลล์มาขับออกที่ไต
4. เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายสัตว์
5. ทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่น ตามข้อต่อต่างๆ ในร่างกายสัตว์
การสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย
1. การสูญเสียน้ำผ่านทางไต เป็นการสูญเสียน้ำในรูปของปัสสาวะ โดยอยู่ภายใต้การควบคุม
ของฮอร์โมนจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) และต่อมอะดรีนอล (adrenal gland)
ฮอร์โมนเหล่านี้จะรักษาความสมดุลของน้ำและสารอิเลคโตรไลท์ (electrolyte) โดยการ
ควบคุมการดูดซึมกลับที่ท่อไต ร่างกายใช้กลไกนี้ในการควบคุมปริมาณและส่วนประกอบของ
ของเหลวในร่างกายให้คงที่
2. การสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนัง หรือการสูญเสียน้ำออกทางเหงื่อ สามารถผันแปรตามชนิด
ของสัตว์ ปริมาณการได้รับน้ำ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพแวดล้อม ตลอด-จน
ความเร็วลม
3. การสูญเสียน้ำผ่านทางปอด โดยออกมาพร้อมกับลมหายใจหรือการหอบ ปริมาณการ
สูญเสียน้ำสามารถผันแปรตามอุณหภูมิและกิจกรรมของสัตว์ การมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นรวมทั้งหาก
อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้สัตว์เพิ่มอัตราการหายใจ
4. การสูญเสียน้ำผ่านทางมูล โดยทั่วไปปริมาณน้ำที่พบในมูลสัตว์จะอยู่ในช่วง 62-79% ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของอาหารที่สัตว์ได้รับตลอดจนชนิดและสุขภาพของสัตว์เช่น แพะแกะ
น้ำและบทบาทในร่างกาย 43