Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. ปริมาณอาหารที่สัตว์กิน ความต้องการน้ำของสัตว์จะผันแปรตามปริมาณอาหารในรูปวัตถุ
แห้งที่สัตว์ได้รับ เช่นความต้องการน้ำของสุกรประมาณ 2-3 กก. หรือโค-กระบือ ประมาณ 4-5
กก.ต่ออาหาร 1 กก.วัตถุแห้ง (Kirchgessner, 1997)
4. ระดับโปรตีนในอาหาร เมื่อระดับโปรตีนในอาหารสูงขึ้นจะมีการขับน้ำออกจากร่างกายทาง
ไตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัตว์จะมีการขับไนโตรเจนส่วนเกินในรูปของยูเรียมากขึ้น ส่งผลให้ความ
ต้องการน้ำของสัตว์เพิ่มขึ้น (Wahlstrom et al., 1970)
5. ปริมาณเกลือในอาหาร กรณีที่สัตว์ได้รับอาหารที่มีเกลือในระดับสูง ทั้งเกลือโซเดียมคลอ
ไรด์และโปตัสเซียมจะทำให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 4-5) เพื่อใช้ในการขับแร่ธาตุ
ส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านทางไต
ตารางที่ 4-5: ผลของเกลือโซเดียมคลอไรด์และโปตัสเซียมในอาหารต่อความต้องการน้ำของ
สุกร
ระดับโซเดียมคลอไรด์ (%)* ระดับโปตัสเซียม (มก./กก)**
0.06 0.13 0.20 0.27 8 11 14 17
ปริมาณอาหารที่กิน(กก./วัน) 1.32 1.43 1.51 1.45 1.58 1.60 1.63 1.58
ปริมาณน้ำที่กิน (ลิตร/วัน) 4.20 4.70 5.10 5.30 4.98 5.41 5.91 5.51
ปริมาณน้ำต่อ 1 กก.อาหาร 3.20 3.30 3.40 3.70 3.21 3.42 3.68 3.67
ที่มา: * Hagsten and Perry (1976); ** Gill (1989)
6. ระดับเยื่อใยในอาหาร ปริมาณน้ำในมูลของสัตว์จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับส่วนประ กอบ
ของอาหาร ในกรณีที่สุกรและสัตว์ปีกได้รับเยื่อใยจากอาหารในระดับสูงจะเกิดการสูญ เสียน้ำ
ทางมูลมากขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำของสัตว์เพิ่มขึ้น (Maynard et al., 1979)
7. ปริมาณน้ำในอาหาร หากสัตว์ได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำสูงอยู่แล้ว จะทำให้ความต้องการ
น้ำดื่มลดลง
น้ำและบทบาทในร่างกาย 45