Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณภาพของน้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ควรมีสารต่างๆ ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ต่อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค อาทิ เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella sp.)
เลพโตสไปรา (Leptospira sp.) และอี. โคไล (E. coli) โดยได้มีการกำหนดให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปศุ
สัตว์ไม่ควรมีปริมาณจุลินทรีย์เกินกว่า 5,000 โคลิฟอร์ม/100 มล. (Bureau of National
Affairs, 1973) อย่างไรก็ตามค่าดังกล่าวเป็นเพียงค่าพื้นฐานจึงอาจจำเป็นต้องปรับระดับให้
ลดลงสำหรับเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งในธรรมชาติมักพบการปนเปื้อน
ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำผิวดินมากกว่าน้ำใต้ดิน
สารอนินทรีย์ที่พบในน้ำมักเป็นแร่ธาตุหรือสารประกอบบางชนิดซึ่งเกิดตามธรรมชาติหรือจาก
การปนเปื้อนและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ได้ เช่น
1. เกลือซัลเฟต เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลทำให้สัตว์เกิดอาการท้องเสีย การเจริญเติบโตและ
ประสิทธิภาพการใช้อาหารเลวลง สัตว์กินอาหารลดลงแต่กินน้ำมากขึ้น อาจมีอาการทาง
ประสาทและกระดูกข้อต่อผิดปกติ แต่ไม่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ระดับเกลือซัลเฟตในน้ำที่
ปลอดภัยสำหรับสัตว์ไม่ควรเกิน 1,000 มก./มล. (ตารางที่ 4-7)
2. สารประกอบไนเตรทและไนไตรท์ สารไนไตรท์มีผลเสียโดยตรงต่อตัวสัตว์โดยทำให้การ
ขนส่งออกซิเจนไปตามกระแสเลือดผิดปกติ ทำให้เซลล์ต่างๆ ขาดออกซิเจนได้ ส่วนสารประ-
กอบไนเตรทไม่มีผลโดยตรงแต่สามารถถูกเปลี่ยนเป็นรูปไนไตรท์ได้ ซึ่งระดับของไนเตรทที่ 300
มก./มล. อาจก่อให้เกิดอาการเป็นพิษต่อสัตว์
3. ของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดในน้ำ (Total dissolved solid: TDS) เป็นค่าที่บ่งบอกถึง
ปริมาณสารอนินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายในน้ำ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมในรูป
เกลือไบคาร์บอเนท คลอไรด์หรือซัลเฟต เป็นต้น ค่า TDS ในน้ำที่มีความปลอดภัยควรมีค่าต่ำ
กว่า 1,000 มก./มล. หากน้ำมีค่าสูงกว่า 6,000 มก./มล. จะทำให้สัตว์เกิดอาการท้องเสียได้
และสัตว์จะกินน้ำเพิ่มขึ้น (NAC, 1974)
น้ำและบทบาทในร่างกาย 47