Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การใช้ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรท
ร่างกายสัตว์จะใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานหลัก ด้วยเหตุนี้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดอื่น
ที่ดูดซึมบริเวณผนังลำไส้เล็กจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสที่บริเวณผนังเซลล์ลำไส้หรือบางกรณี
อาจถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสที่ตับ ร่างกายสัตว์มีการสะสมพลังงานในรูปของคาร์โบไฮ
เดรทค่อนข้างน้อย โดยจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไกลโคเจนแล้วสะสมที่ตับและกล้ามเนื้อ ไกล
โคเจนเหล่านี้ทำหน้าที่ในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่อยู่เสมอ ระดับกลูโคสในเลือด
โดยเฉลี่ยของสัตว์กระเพาะเดี่ยวมีค่าประมาณ 100 มก/100 มล. (Kirchgessner, 1997)
ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงไกลโคเจนที่ตับจะถูกสลายโดยวิถีไกลโคจีโนไลซีส
(glycogenolysis) ได้เป็นกลูโคสด้วยการควบคุมของฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) และ
เมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสให้อยู่ในรูปไกลโคเจนด้วย
วิถีไกลโคเจนเนซีส (glycogenesis) (รูปที่ 5-7) โดยฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) จากตับ
อ่อนเป็นตัวควบคุม อินซูลินจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ด้วยการกระตุ้น
การสร้างไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อ ส่วนกลูคากอนกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำตาลกลูโคสสู่
กระแสเลือด ร่างกายใช้ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ กรณีสัตว์ออกกำลังกายหรือกล้ามเนื้อมีการหดตัว ไกลโคเจนจะถูกสลายได้เป็น
กลูโคสและไพรูเวท ตามลำดับ ไพรูเวทจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติคในภาวะที่กล้ามเนื้อมี
ออกซิเจนต่ำ ซึ่งกรดแลคติคบางส่วนจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อไปจนได้พลังงานความ
ร้อน บางส่วนถูกส่งต่อไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน หากกล้ามเนื้อทำงานติดต่อกัน
เป็นเวลานานจะเกิดกรดแลคติคในปริมาณมากจนขับออกสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดมีภาวะ
เป็นกรดหรือ “acidosis” ได้เช่นกัน
กลูโคสในร่างกายนอกจากจะได้จากไกลโคเจนแล้วยังสามารถถูกสร้างขึ้นจากสารอื่นที่ไม่ใช่
คาร์โบไฮเดรท เช่น กรดอะมิโน และไขมัน กระบวนการในการสร้างกลูโคสจากสารเหล่านี้
เรียกว่ากลูโคนีโอเจนเนซีส (gluconeogenesis) กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นทุกชนิดและกรดอะ
มิโนที่จำเป็นบางชนิด เช่น อาร์จินีน เมทไธโอนีน ซีสตีน ฮิสติดีน ทรีโอนีน ทริฟโตเฟน และ
คาร์โบไฮเดรท 63