Page 68 -
P. 68
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
adenine dinucleotide) ซึ่งจะเข้าสู่ ลูกโซ่การขนส่งอิเลคตรอน (electron –transport
system: ETS) ได้ ATP ออกมา (ตารางที่ 5-7)
ATP เป็นสารที่มีพลังงานสูงโดย 1 โมเลกุล ATP สามารถให้พลังงานประมาณ 8 กิโลแคลอรี
(Kcal) อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการเปลี่ยนกลูโคสเป็นพลังงานมีค่าเพียง 40–65%
เท่านั้น ในสภาพที่ปราศจากออกซิเจน ไพรูเวทที่ได้จากการสลายกลูโคสจะถูกเปลี่ยนไปเป็น
กรดแลคติค ซึ่งกรดแลคติคที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นไพรูเวทและนำไปสร้างกลูโคส
ใหม่ได้เช่นกัน นอกจากวิถีไกลโคไลซีสแล้วกลูโคสยังสามารถเข้าสู่ วิถีเพ็นโตสฟอสเฟต
(pentose phosphate pathway) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการผลิต nicotina-
+
mide–adenine-dinucleotidephosphate (NADPH+H ) ที่จำเป็นสำหรับการสร้างกรดนิว
คลีอิคและกรดไขมันในร่างกาย
สำหรับสัตว์กระเพาะรวม คาร์โบไฮเดรทในอาหารจะถูกจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนย่อยสลาย
ได้เป็นกรดไขมันที่ระเหยง่าย ได้มีการประมาณค่ากรดไขมันที่ระเหยง่ายที่ผลิตในกระเพาะรู
เมนของโคนมที่ผลิตน้ำนม 25 กก.ต่อวัน ดังนี้คือ กรดอะซิติคประมาณ 3.5 กก. กรดโปรบิโอ
นิค 1.5–3 กก. และกรดบิวทิริค 1–1.5 กก. (Kirchgessner, 1997) กรดไขมันที่ระเหยง่าย
เหล่านี้จะดูดซึมผ่านผนังรูเมนเข้าสู่ร่างกาย แต่มีการดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่าง ๆ เข้าสู่
ร่างกายน้อยมาก ไม่เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ กลูโคสส่วนใหญ่จะได้จากวิถีกลูโคนี-
โอเจนเนซีส โดยกรดโปรบิโอนิคจะเดินทางสู่ตับแล้วเปลี่ยนเป็นออกซาโลอะซิเตท
(oxaloacetate) และไพรูเวท จากนั้นไพรูเวทจะถูกนำไปสร้างเป็นกลูโคสโดยปฏิกิริยาย้อน-
กลับของวิถีการสลายของกลูโคส (รูปที่ 5-7) นอกจากนั้นกลูโคสสามารถถูกสร้างขึ้นได้จาก
กรดแลคติกและกรดอะมิโนบางชนิดได้เช่นกัน แต่ร่างกายไม่สามารถใช้กรดอะซิติคและกรด
บิวทิริคในการสร้างกลูโคสได้แต่จะใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยเข้าสู่วัฏจักรเครบและลูกโซ่การ
ขนส่งอิเลคตรอน (ตารางที่ 5-7) สำหรับกรดอะซิติคนั้นสัตว์สามารถจะนำไปใช้ในการสร้าง
กรดไขมัน โดย-เฉพาะอย่างยิ่งไขมันในน้ำนม ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างกรดอะซิติคใน
กระเพาะรูเมนจึงมีผลโดยตรงต่อปริมาณไขมันในนมของสัตว์ด้วย
คาร์โบไฮเดรท 65