Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นต้องได้รับจากอาหาร มีจำนวน 10 ชนิดคือ ไลซีน (lysine) ไอโซลิวซีน (isoleucine)
ลิวซีน (leucine) ฮีสติดีน (histidine) อาร์จินีน (arginine) ทรีโอนีน (threonine) ทริฟ
โตเฟน (tryptophan) ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) วาลีน (valine) และเมทไธโอนีน
(methionine)
สำหรับสัตว์ปีกจะมีความต้องการกรดอะมิโนไกลซีน (glycine) และโปรลีน (proline) จาก
อาหารเพิ่มเติม เนื่องจากต้องนำกรดอะมิโนดังกล่าวไปใช้ในการสร้างกรดยูริค (uric acid) ซึ่ง
เป็นรูปแบบการขับไนโตรเจนส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกจากร่างกาย จึงทำให้สัตว์ปีกมีความ
ต้องการกรดอะมิโนทั้งสองสูงขึ้น ร่างกายสร้างได้ไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถสร้างกรดอะมิโนทั้ง 2 ได้เพียงพอกับความต้องการของ
ร่างกาย
1.2 กรดอะมิโนกึ่งจำเป็น (semi-essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่สัตว์
สามารถสร้างขึ้นได้จากกรดอะมิโนที่จำเป็นเช่น ซีสตีน (cystine) สร้างได้จากเมทไธโอนีน
หรือไทโรซีน (tyrosine) สร้างได้จากฟีนิลอะลานีน การมีกรดอะมิโนเหล่านี้ในอาหารอย่าง
เพียงพอจะทำให้ร่างกายมีความต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นจากอาหารลดลง
1.3 กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non-essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่ร่าง-
กายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการจึงไม่จำเป็นต้องได้รับ
จากอาหาร เช่นกรดอะมิโนอะลานีน (alanine) กรดกลูตามิค (glutamic acid) เซอร์รีน
(serine) กรดแอสพาติค (aspartic acid) เป็นต้น
2. การแบ่งประเภทของกรดอะมิโนตามคุณสมบัติและลักษณะโครงสร้าง สามารถแบ่งได้
เป็น 6 กลุ่มคือ
2.1 Monoamino - monocarboxylic amino acids เป็นกรดอะมิโนที่มีหมู่อะมิ
โนและหมู่คาร์บอกซิลอย่างละ 1 หมู่ในโครงสร้าง (รูปที่ 6-2) ทำให้มีคุณสมบัติเป็นกลาง
(neutral amino acids) เช่นไกลซีน อะลานีน และสามารถแบ่งย่อยเป็น
สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 70