Page 210 -
P. 210

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                         • ปริมาณของเสียที่เกิดจากการหมัก ในกระบวนการทำพืชหมักจะเกิดส่วน

                  ของเหลวที่เรียกว่า “Effluent” ขึ้น ปริมาณของ Effluent จะผันแปรตามความชื้นเริ่มแรก

                  ของพืช โดยส่วน Effluent นี้ประกอบด้วยน้ำตาล สารประกอบไนโตรเจนที่ละลายน้ำ แร่ธาตุ


                  และกรดอินทรีย์ที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างการหมัก สารอาหารเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารต่อตัว

                  สัตว์ ดังนั้นในการทำพืชหมักให้มีคุณภาพดีจำเป็นต้องลดปริมาณของ Effluent ให้ต่ำที่สุดเพื่อ

                  มิให้คุณค่าทางอาหารของพืชหมักสูญเสียไป โดยการลดความชื้นของพืชก่อนการหมัก


                  พืชหมักมักมีส่วนประกอบของสารอาหารใกล้เคียงกับพืชก่อนนำมาหมัก แต่ถ้าหากพิจารณา

                  สัดส่วนของสารอาหารจะเห็นได้ว่าพืชหมักจะต่างจากพืชเดิม (ตารางที่ 12-3) โดยระดับของ

                  สารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (NPN) สูงขึ้นแต่มีคาร์โบไฮเดรทที่ละลายได้ลดลงและมี


                  กรดแลคติกกับกรดไขมันที่ระเหยได้สูงขึ้น พืชหมักที่มีคุณภาพดีมีระดับเยื่อใยต่ำจะสามารถใช้

                  เป็นอาหารของสัตว์ปีกและสุกรได้เช่นกัน แต่จำเป็นต้องเสริมแหล่งพลังงานในสูตรอาหาร

                  เนื่องจากพืชหมักมีระดับพลังงานต่ำกว่าเมล็ดธัญพืช


                  ตาราง 12-3: ส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าไรน์ และพืชหมัก


                                                                      สัดส่วน (% ของน้ำหนักแห้ง)
                                                                   หญ้าไรน์               พืชหมัก

                  โปรตีนไนโตรเจน                                    2.66                   0.91

                  สารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (NPN)            0.34                   2.08
                  ไนโตรเจนที่ระเหยได้                                 -                    0.21

                  น้ำตาล                                             9.5                    2.0

                  ฟรุคแทน                                            5.6                    0.1
                  เฮมิเซลลูโลส                                      15.9                   13.7

                  เซลลูโลส                                          24.9                   26.8
                  ลิกนิน                                             8.3                    6.2

                  กรดแลคติค                                           -                     8.7
                  ระดับความเป็นกรดด่าง (pH)                          6.3                    3.9

                  ที่มา: McDonald et al. (1973)




                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              207
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215