Page 209 -
P. 209

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  2.2.2 การเสริมสารที่ยับยั้งกระบวนการหมัก โดยการใช้กรดอนินทรีย์ เช่น กรดไฮโดรคลอริค

                  และกรดซัลฟูริค เติมในพืชหมักเพื่อลดค่าความเป็นกรด-ด่างให้ต่ำกว่า 4.0 ทำให้เชื้อจุลินทรีย์

                  เจริญเติบโตไม่ได้ ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้กรดอินทรีย์แทน เช่นกรดฟอร์มิก เนื่องจากมีความรุน-

                  แรงน้อยกว่ากรดอนินทรีย์ และการใช้กรดอินทรีย์ให้ผลที่ดีกว่าในแง่กระตุ้นให้สัตว์กินอาหาร


                  มากขึ้นและสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ดีขึ้น (ตารางที่ 12-2) อย่างไรก็ตามคุณค่าทางอาหาร

                  ของพืชหมักสามารถผันแปรตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้คือ

                         • ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดในพืช กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่

                  เกิดขึ้นจากการทำงานของเอ็นไซม์ต่าง ๆ ในพืชจะเริ่มตั้งแต่ตัดต้นพืชจนกระทั่งนำพืชมาหมัก


                  โดยการสลายคาร์โบไฮเดรทในพืชได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และความร้อน ทำให้พืช

                  มีอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลเสียต่อคุณค่าทางอาหาร


                  ตาราง 12-2: เปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของหญ้าหมักด้วยสารเสริม 2 ชนิด


                                                            ไม่เสริม     กรดฟอร์มิค       กรดซัลฟูริค

                                                                                        และฟอร์มาลิน
                  วัตถุแห้ง (กรัม/กก.)                       181             184             176

                  ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)                   3.8             3.7             4.0

                  ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง                  0.74           0.74            0.72
                  พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (MJ/Kg DM)        12.1           11.3            10.3

                  ปริมาณการกินหญ้าหมัก (กรัม/วัน)           1020            1106            1020

                  อัตราการเจริญเติบโต (กรัม/วัน)             200             231             236
                  ที่มา:  McDonald et al. (1995)



                         • สภาพสรีระของพืช อาทิ ชนิดของพืช ระยะการเจริญเติบโต ลักษณะรูปร่าง และ

                  ความชื้นของพืชมีผลต่อคุณค่าทางอาหาร พืชที่ใช้ทำพืชหมักควรมีคาร์โบไฮเดรทในระดับสูง

                  เพื่อให้จุลินทรีย์เปลี่ยนให้เป็นกรดแลคติค พืชตระกูลถั่วซึ่งมีโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรทต่ำจะให้

                  พืชหมักที่มีคุณภาพด้อยกว่า นอกจากนี้พืชที่ใช้ทำพืชหมักควรอยู่ในระยะที่เริ่มออกดอกหรือ


                  หลังจากนั้นเล็กน้อย เพราะหากพืชมีอายุมากขึ้นคุณค่าทางอาหารจะยิ่งลดลง และพืชที่มี

                  ความชื้นสูงจะให้พืชหมักที่มีคุณภาพต่ำเนื่องจากจุลินทรีย์บางประเภทสามารถเจริญเติบโตได้



                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              206
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214