Page 211 -
P. 211

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  3. พืชแห้ง (Hay) การทำพืชแห้งเป็นวิธีการเก็บรักษาพืชอาหารสัตว์ไว้ในยามที่พืชสดขาด

                  แคลนอีกวิธีหนึ่ง โดยการลดปริมาณความชื้นของพืชให้อยู่ในระดับต่ำจนสามารถยับยั้งการ

                  ทำงานของเอ็นไซม์ในตัวพืชและของจุลินทรีย์ การทำพืชแห้งนี้จำเป็นต้องลดปริมาณความชื้น

                  ให้เหลือประมาณ 15-20% ดังนั้นการตัดพืชเมื่อแก่เต็มที่จะมีความชื้นเหลืออยู่น้อย ซึ่งทำให้


                  พืชแห้งเร็วและมีการสูญเสียน้ำหนักน้อย แต่มีข้อเสียคือ เมื่อพืชมีอายุมากขึ้นจะมีคุณค่าทาง

                  อาหารลดลง โดยทั่วไปคุณค่าทางอาหารของพืชแห้งจะต่ำกว่าพืชหมักและพืชสด อย่างไรก็ตาม

                  การทำพืชแห้งอย่างถูกวิธีและเลือกระยะการเจริญเติบโตของพืชที่เหมาะสม จะทำให้มีการ

                  สูญเสียคุณค่าทางอาหารน้อยและได้พืชแห้งที่มีคุณภาพดีได้เช่นกัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่า

                  ทางอาหารของพืชแห้งได้แก่


                         • ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งเป็นผลจากการทำงานของเอ็นไซม์ในพืชหรือ

                  ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการทำงานของจุลินทรีย์ที่ติดมา มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสาร-

                  ประกอบต่าง ๆ ของพืช การทำให้พืชแห้งเร็วขึ้นจะช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารให้น้อยลง


                         • ชนิดของพืชและระยะการเจริญเติบโต พืชแห้งที่ทำมาจากพืชตระกูลถั่วจะมีระดับ

                  โปรตีนและแร่ธาตุมากกว่าพืชแห้งที่ทำมาจากหญ้าหรือธัญพืช ดังนั้นในการทำพืชแห้งจึงมักใช้

                  หญ้าร่วมกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าการใช้หญ้าเพียงอย่างเดียว ระยะการเจริญเติบโต

                  ของพืชเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณค่าทางอาหารของพืชแห้ง การใช้พืชที่มีอายุมากจะให้

                  ผลผลิตมากกว่าแต่คุณภาพของพืชแห้งต่ำกว่าพืชที่ตัดตอนอ่อน ๆ


                         • กระบวนการในการทำให้แห้ง กรรมวิธีในการทำพืชให้แห้งมีหลายวิธี อาทิ การ

                  ตากแดด การใช้ลมร้อนเป่าในที่ร่ม การอบ เป็นต้น การทำให้พืชแห้งเร็วที่สุดสามารถลดการ

                  สูญเสียสารอาหารตลอดจนลดการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการได้มากที่สุด



                  อาหารข้น (concentrate)


                  เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบอาหารสัตว์กลุ่มต่าง ๆ มาประกอบกันในสัดส่วนที่ทำให้ได้สารอาหาร

                  ตามความต้องการของสัตว์ ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นอาหารข้นสำหรับสัตว์กระเพาะรวม

                  หรืออาหารผสมสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ





                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              208
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216