Page 215 -
P. 215

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  ผลพลอยได้จากการสีข้าว ได้แก่ปลายข้าวและรำละเอียด วัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนิยม

                  นำมาใช้ในอาหารสุกรและสัตว์ปีก ปลายข้าว (Broken rice) มีระดับโปรตีนผันแปรตั้งแต่

                  6.5-9.0% ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของจมูกข้าว (endosperm) ที่ติดมา ปลายข้าวที่มีจมูกข้าวมากขึ้น

                  จะมีระดับโปรตีนสูงขึ้น ปลายข้าวเป็นแหล่งพลังงานที่ย่อยง่าย สัตว์ใช้ประโยชน์ได้ดีโดยเฉพาะ


                  สุกร มีระดับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 3,300 กิโลแคลอรี่/กก. ไม่ค่อยพบปัญหาการ

                  ปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา โดยปกติสามารถใช้ปลายข้าวทดแทนข้าวโพดในสูตรอาหารได้

                  เต็มที่ขึ้นอยู่กับราคาของวัตถุดิบทั้งสอง เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกันแต่ปลายข้าว

                  จะมีระดับไขมันและสารให้สีต่ำกว่าข้าวโพด ดังนั้นการใช้ปลายข้าวในการเลี้ยงสุกรระยะขุน จึง

                  จำเป็น-ต้องมีแหล่งไขมันโดยเฉพาะกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในสูตรด้วย มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหา


                  ไขมันสันหลังสุกรแข็งได้เช่นเดียวกับกรณีการใช้มันสำปะหลัง ส่วนในอาหารสัตว์ปีก

                  จำเป็นต้องเสริแหล่งสารให้สีด้วย


                  รำละเอียด (Rice bran) เป็นผลพลอยจากการสีข้าวเช่นเดียวกัน มีระดับโปรตีนประมาณ

                  12% ไขมันสูงถึง 16-18% องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว รำละเอียดเป็น

                  วัตถุดิบที่ให้พลัง-งานสูง แต่สุกรและสัตว์ปีกสามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่เท่ากัน โดยค่าพลังงานที่

                  ใช้ประโยชน์ได้ในสุกรและสัตว์ปีกมีค่าเท่ากับ 3,200 และ 2,700 กิโลแคลอรี่/กก. ตามลำดับ

                  รำละเอียดที่ได้จากการสีข้าวใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอม สัตว์ชอบกิน แต่มักพบปัญหาการหืนเมื่อ


                  เก็บไว้นาน ดังนั้นในทางปฏิบัติควรใช้รำละเอียดให้หมดภายใน 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้รำ

                  ละเอียดมีคุณสมบัติฟ่าม (Bulky) คือมีปริมาตรมาก น้ำหนักน้อย การใช้รำละเอียดใน

                  ระดับสูงมีผลให้อาหารมีลักษณะฟ่ามด้วย ส่งผลให้ปริมาณการกินอาหารของสัตว์ลดลง มี

                  ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ดังนั้นจึงควรใช้รำละเอียดในสัตว์ระยะเล็กไม่เกิน 10%

                  ส่วนในระยะรุ่น-ขุนสามารถใช้ได้ถึง 20-30%



                  รำสกัดน้ำมัน  (Extracted rice bran) เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันรำข้าว มีระดับ

                  โปรตีนประมาณ 14 % พลัง-งานที่ใช้ประโยชน์ได้เพียง 2,200 กิโลแคลอรี่/กก. เนื่องจากไขมัน

                  มีเพียง 1-2% เท่านั้น ข้อดีของรำสกัดน้ำมันคือสามารถเก็บไว้ได้นานกว่ารำละเอียด แต่จะเป็น

                  ฝุ่นและทำให้สัตว์กินอาหารลดลงเช่นเดียวกัน ระดับการใช้ในสัตว์เช่นเดียวกับรำละเอียด



                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              212
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220