Page 217 -
P. 217

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  การขาดเมทไธโอนีนในสูตรอาหาร นอกจากนี้ระดับพลังงานของกากถั่วเหลืองจะขึ้นอยู่กับ

                  ไขมันที่ตกค้าง ระดับเยื่อใยและเถ้า โดยทั่วไปกากถั่วเหลืองที่เอาเปลือกออกจะมีพลังงานที่ใช้

                  ประโยชน์ได้ในสุกรและสัตว์ปีกสูงกว่ากากถั่วเหลืองที่มีเปลือก (ตารางที่ 12-5)


                  ตาราง 12-5:  คุณค่าทางอาหารของกากถั่วเหลืองชนิดมีเปลือกและชนิดกระเทาะเปลือก


                                สารอาหาร (%)                     กากถั่วเหลือง         กากถั่วเหลือง

                                                                 ชนิดมีเปลือก         ชนิดไม่มีเปลือก

                      โปรตีน (%)                                      44                   48

                      พลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกร (Kcal/kg)          3025                 3250

                      พลังงานใช้ประโยชน์ได้ในไก่ (Kcal/kg.)          2325                 2525
                      เยื่อใย                                         6.0                  3.1

                      ไลซีน (%)                                      2.70                 3.07

                      สัมประสิทธิ์การย่อยได้ในไก่ (%)                 90                   92

                      สัมประสิทธิ์การย่อยได้ในสุกร (%)                85                   86
                      เมทไธโอนีน (%)                                 0.63                 0.68

                      สัมประสิทธิ์ การย่อยได้ในไก่ (%)                91                   84

                      สัมประสิทธิ์การย่อยได้ในสุกร (%)                86                   87

                      ทรีโอนีน (%)                                   1.70                 1.94

                      สัมประสิทธิ์การย่อยได้ในไก่ (%)                 87                   92
                      สัมประสิทธิ์ การย่อยได้ในสุกร (%)               78                   77

                  ที่มา: NRC (1994) และ NRC (1998)


                  แม้ว่าผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทั้ง 2 ชนิดมีคุณภาพดีแต่ต้องผ่านความร้อนมาอย่างเหมาะสม


                  เนื่องจากเมล็ดถั่วเหลืองดิบมีสารยับยั้งการใช้ประโยชน์จากอาหาร (anti-nutritive factor:

                  ANF) หลายชนิด เช่น สารยับยั้งทริฟซิน ซึ่งสามารถจับกับเอ็นไซม์ทริฟซินในลำใส้เล็ก ทำให้

                  การทำงานของทริฟซินและไคโมทริฟซินลดลง (ตารางที่ 12-6) สัตว์จึงใช้ประโยชน์จากโปรตีน

                  และกรดอะมิโนในอาหารลดลงด้วย (ตารางที่ 12-7) นอกจากนี้ยังพบโปรตีนที่ทำให้สัตว์เกิด


                  อาการแพ้ (allergenic proteins) เช่น conglycinin และ -conglucinin ซึ่งมีผลให้เกิด



                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              214
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222