Page 221 -
P. 221

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  กากเมล็ดฝ้าย (cotton seed meal) เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย มี

                  ระดับโปรตีนประมาณ 40-41% แต่มีระดับเยื่อใยค่อนข้างสูงถึง 11-13% กากเมล็ดฝ้ายมีค่า

                  การย่อยได้ของกรดอะมิโนที่จำเป็นโดยเฉพาะ ไลซีน เมทไธโอนีน ทรีโอนีน และทริฟโตเฟน ต่ำ

                  กว่ากากถั่วเหลือง  ดังนั้นการใช้กากเมล็ดฝ้ายในสูตรอาหารจำเป็นต้องมีการเสริมไลซีนและ


                  เมทไธโอนีนมากกว่าปกติ นอกจากมีคุณค่าทางอาหารที่ด้อยกว่ากากถั่วเหลืองแล้ว กากเมล็ด

                  ฝ้ายยังมีสารพิษกอสซิปปอล (gossypol) ซึ่งกอสซิปปอลอิสระมีผลทำลายตับและทำให้

                  สมรรถภาพการผลิตลดลง กอสซิบปอลยังมีผลทำให้ไข่ที่เก็บไว้นานมีสีเขียว เนื่องจากกอสซิบ

                  ปอลจะทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็กในไข่ กากเมล็ดฝ้ายยังประกอบด้วยสาร cyclopropenoid

                  fatty acid ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสีชมพูในไข่ขาว และมีฤทธิ์ทำลายตับอีกด้วย ระดับการใช้กาก


                  เมล็ดฝ้ายที่เหมาะสมได้แสดงไว้ในตารางที่ 12-8 ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ฝ้ายให้

                  ไม่มีกอสซิบปอล ซึ่งทำให้สามารถใช้กากเมล็ดฝ้ายในอาหารสุกรและสัตว์ปีกได้มากขึ้น อย่างไร

                  การผลิตกากเมล็ดฝ้ายสายพันธุ์นี้ยังไม่แพร่หลาย


                  กากเมล็ดทานตะวัน (sunflower seed meal) ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการส่งเสริมให้

                  ปลูกเมล็ดทานตะวันมากขึ้น ซึ่งผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งโปร-

                  ตีนที่ดีได้ เนื่องจากมีระดับโปรตีนประมาณ 28-30% และมีระดับเยื่อใยประมาณ 13-15% ซึ่ง

                  มีระดับโปรตีนสูงกว่าและเยื่อใยต่ำกว่ากากทานตะวันที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีระดับโปรตีน


                  เพียง 25-28 % และเยื่อใยสูงถึง 18-20% ในกากทานตะวันพบสาร chlorogenic acid ซึ่งมี

                  ลักษณะคล้ายคลึงกับแทนนิน โดยมีผลในการยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ในลำไส้เล็ก อาทิ

                  ทริฟซิน ไคโมทริฟซิน อะไมเลส และไลเปส (cheeke and Shull, 1985) และ chlorogenic

                  acid ยังเป็นสารต้นตอของ orthoquinones ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับไลซีนในระหว่างกระ-

                  บวนการผลิตหรือการย่อยในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นการใช้กากทานตะวันในอาหารจึง


                  จำเป็นต้องเสริมกรดอะมิโนเมทไธโอนีน ไลซีนและโคลีน เพื่อป้องกันผลที่เกิดจาก

                  chlorogenic acid


                  การใช้กากเมล็ดทานตะวันในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกสามารถทดแทนกากถั่วเหลืองได้สูงถึง

                  2 ใน 3 สำหรับอาหารสัตว์ระยะรุ่น-ขุน แต่จำเป็นต้องมีการเสริมกรดอะมิโนสังเเคราะห์เพื่อ



                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              218
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226