Page 224 -
P. 224
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณค่าทางอาหารของกากเนื้อในปาล์มจะต่ำกว่ากากถั่วเหลืองโดยขาดไลซีน เมทไธโอนีน และ
ทริฟโตเฟน และค่าการย่อยได้ของกรดอะมิโนต่ำ ดังนั้นการใช้กากเนื้อในปาล์มน้ำมันในอาหาร
สุกรและสัตว์ปีกจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องระดับเยื่อใยในอาหารตลอดจนคุณภาพของกาก
ปาล์มด้วย
กากงา(sesame meal) กากงามีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับกากถั่วเหลือง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ
กระบวนการผลิต หากมีการนำเอาเปลือกเมล็ดงาออกจะสามารถลดระดับเยื่อใยลงและเพิ่ม
คุณค่าของโปรตีนในกากงาในสูงขึ้น ดังนั้นระดับโปรตีนในกากงาสามารถผันแปรได้จาก 41 ถึง
45% โดยกากงาชนิดอัดน้ำมันจะมีระดับโปรตีนเฉลี่ย 40% และไขมัน 5% ส่วนกากงาชนิด
สกัดน้ำมันมีระดับโปรตีน 42-45% และมีไขมันต่ำกว่า 3% ระดับพลังงานจะต่ำกว่ากากถั่ว
เหลืองเนื่องจากมีระดับเยื่อใยสูง กากงาเป็นแหล่งที่ดีของกรดอะมิโนที่มีกำมะถัน เช่น เมทไธ
โอนีน ซีสตีน และทริฟโตเฟน แต่ขาดไลซีนและทรีโอนีน นอกจากนี้กากงายังประกอบด้วยสาร
ยับยั้งการใช้ประโยชน์จากอาหาร อาทิ กรดออกซาลิค (oxalic acid) ในระดับสูง (35 มก./-
100 กรัม) และกรดไฟติค (5%) กากงาที่ได้จากสายพันธุ์ที่มีสีเข้มจะมีสารดังกล่าวในระดับที่สูง
กว่าสายพันธุ์ที่มีสีแดง กรดออกซาลิคและกรดไฟติคจะรบกวนการใช้ประโยชน์ของแร่ธาตุใน
ร่างกายเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก กรดออกซาลิคมีผลเสียต่อไต
และลดความน่ากินของอาหารลง
เนื่องจากกากงาเป็นแหล่งที่ดีของกรดอะมิโนที่มีกัมมะถันและกรดไขมันที่จำเป็น จึงนิยมใช้ใน
อาหารสัตว์ปีกกันมาก แต่การใช้กากงาในสูตรอาหารจำเป็นต้องเสริมไลซีนให้เพียงพอ ส่วนใน
อาหารสุกรระยะรุ่น-ขุนสามารถใช้กากงาในระดับ 5-8% ของสูตรอาหาร โดยไม่ส่งผลเสียต่อ
สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซาก
กากลูปิน (lupin meal) ได้เริ่มมีการนำกากลูปินเข้ามาใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศไทย
กากลูปินได้มาจากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดลูปิน มีระดับโปรตีนประมาณ 30% ขาดกรดอะมิ
โนไลซีนและเมทไธโอนีน แต่เป็นแหล่งที่ดีของทรีโอนีน คุณค่าทางอาหารของกากลูปินจะขึ้น-
อยู่กับปริมาณของสารยับยั้งการใช้ประโยชน์จากอาหารในเมล็ดลูปิน อาทิ สารในกลุ่มแอลคา
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 221