Page 223 -
P. 223

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  กากมะพร้าว (copra meal) เป็นผลพลอยได้มาจากการคั้นกะทิแล้วนำมาผ่านความร้อนให้

                  แห้ง โดยปกติมักมีระดับไขมันผันแปร (9-16%) ขึ้นกับกระบวนการผลิต ไขมันจากมะพร้าวจะ

                  เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ปีกและสุกรระยะเล็กมาก เนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันที่มีความยาว

                  ของสายโซ่สั้น (C 12 : 0  ถึง 58% และ C 14 : 0 เท่ากับ 16%: ตารางที่ 6-1) สัตว์สามารถย่อยและ


                  ดูดซึมไปใช้ได้ง่าย กากมะพร้าวมีระดับโปรตีนผันแปรตั้งแต่ 19 ถึง 23% แต่โปรตีนมีคุณภาพ

                  ต่ำเนื่องจากกรดอะมิโนขาดความสมดุลและค่าการย่อยได้ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกาก

                  ถั่วเหลือง โดยกากมะพร้าวขาดไลซีน เมทไธโอนีน ทรีโอนีน และฮีสติดีน แต่มีระดับอาร์จินีน-

                  สูง ซึ่งมีผลให้เกิดการขัดขวางการใช้ประโยชน์ของไลซีนในอาหารได้


                  ปัญหาที่เกิดจากกากมะพร้าวอีกประการหนึ่งคือ มักพบการปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อรา

                  เนื่องจากกากมะพร้าวมีความชื้นค่อนข้างสูง นอกจากนี้กากมะพร้าวยังประกอบด้วยสารโพลี่

                  แซคคาไรด์ชนิด “แมนแนน (mannans)” ซึ่งสุกรและสัตว์ปีกย่อยได้ต่ำ ระดับการใช้กาก


                  มะพร้าวในสูตรอาหารขึ้นอยู่กับคุณภาพของกากมะพร้าวเอง ในสัตว์ปีกใช้ได้ไม่เกิน 3-4% ใน

                  สูตรอาหาร ส่วนในสุกรระยะเล็กไม่แนะนำให้ใช้กากมะพร้าวเนื่องจากมีระดับเยื่อใยสูงและการ

                  ย่อยได้ของไลซีนต่ำ ส่วนในระยะรุ่น-ขุนสามารถใช้ได้สูงถึง 10% ในสูตรอาหาร แต่การใช้กาก

                  มะพร้าวในสุกรระยะขุนจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของไขมันในซากแข็งเนื่องจากไขมัน

                  มะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง



                  กากเนื้อในปาล์มน้ำมัน (palm kernel meal) เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันเมล็ด

                  ปาล์ม คุณภาพของกากเนื้อในปาล์มขึ้นอยู่กับปริมาณของเปลือกที่ติดมาและระดับไขมันที่

                  ตกค้าง โดยมีโปรตีนประมาณ 16-18% แต่ระดับโปรตีนสามารถลดลงได้ต่ำกว่า 13% และเยื่อ

                  ใยสูงกว่า 20% ถ้าหากมีส่วนเปลือกติดมามาก ซึ่งเป็นตัวจำกัดในการใช้ในสูตรอาหารสัตว์


                  เนื่องจากเยื่อใยที่พบอยู่ในรูปของกาแลคโตแมนแนน (galactomannans) เช่น -(1,4)-D-

                  mannan ซึ่งสัตว์ย่อยได้น้อยมาก นอกจากนี้ระดับไขมันที่พบจะผันแปรตั้งแต่ 2–6% ขึ้นอยู่

                  กับกระบวนการผลิตเป็นชนิดอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมัน การมีไขมันตกค้างอยู่สูงก่อให้เกิดปัญหา

                  การหืนของไขมันในระหว่างการเก็บได้ง่าย






                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              220
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228