Page 227 -
P. 227
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• การก่อให้เกิดกลิ่นปลา (fishy taint) ในผลิตภัณฑ์ การใช้ปลาป่นในระดับสูง >10%
จะสามารถทำให้เกิดกลิ่นปลาในไข่หรือในเนื้อสัตว์ได้
• การปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อรา พบสารพิษจากเชื้อราในกลุ่ม Fusarium sp.
อาทิ สารพิษไตรโคธีซีน (trichothecene) และ ซีราลีโนน (zearalenone) ในปลาป่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาป่นที่นำเข้าจากต่างประเทศ
การใช้ปลาป่นที่มีคุณภาพดีในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีก ควรอยู่ระหว่าง 2-10% ของสูตร
อาหารขึ้นอยู่กับราคาและอายุของสัตว์
กลุ่มวัตถุดิบจากโรงงานฆ่าสัตว์
• ขนไก่ป่น (hydrolyzed feather meal) เป็นผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าสัตว์ปีก โดยการ
นำขนไก่หรือขนสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ มาผ่านกระบวนการไฮโดรไลเซชั่น (hydrolyzation) ภาย-
ใต้ความดัน ขนไก่จะมีระดับโปรตีนสูงถึง 70-75% แต่มีค่าการย่อยได้ของโปรตีนและกรดอะมิ
โนต่ำ เนื่องจากขนไก่ประกอบด้วยโปรตีนชนิดเคอราติน ซึ่งมีกรดอะมิโนที่มีกำมะถันอยู่สูง เช่น
ซีสตีน และเกาะกันด้วยพันธะซัลไฟด์ที่มีความแข็งแรงมาก กระบวนการไฮโดรไลเซชั่นทำลาย
พันธะดังกล่าวได้ไม่มากนัก ทำให้สัตว์ย่อยได้ต่ำ โดยปกติมักใช้ขนไก่ป่นในอาหารสุกรและสัตว์
ปีกในระดับไม่เกิน 5% ของสูตรอาหาร แต่มักมีการนำขนไก่ป่นมาปนปลอมในปลาป่น
• เนื้อป่นกับเนื้อและกระดูกป่น (meat meal and meal & bone meal) เป็นผลพลอย
ได้จากโรงงานฆ่าสัตว์ เนื้อป่นมีระดับโปรตีนผันแปรตั้งแต่ 50-60% และฟอสฟอรัสไม่เกิน
4.4% ในขณะที่เนื้อและกระดูกป่นมีระดับโปรตีนไม่เกิน 50% และมีฟอสฟอรัสสูงกว่า 4.4%
ทั้งเนื้อป่นกับเนื้อและกระดูกป่นมีระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง และคุณภาพของ
โปรตีนกับกรดอะมิโนด้อยกว่าปลาป่น และมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต มี
การใช้เนื้อป่นที่มีคุณภาพดีทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารได้บางส่วนแต่จำเป็นต้องมีการปรับ
ระดับกรดอะมิโนที่จำเป็นให้เหมาะสม เนื่องจากค่าการย่อยได้ของเนื้อป่นมีค่าต่ำกว่าปลาป่น
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 224