Page 232 -
P. 232
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตาราง 12-12: ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในผลิตภัณฑ์แคลเซียมออร์โธฟอสเฟต
ผลิตภัณฑ์ ฟอสฟอรัส (%) แคลเซียม (%)
ไดแคลเซียมฟอสเฟต (มีน้ำ) 18 20
ไดแคลเซียมฟอสเฟต (ไม่มีน้ำ) 20 28
ฟอสเฟตชนิดสกัดฟลูออรีน 18.5 34
โมโนแคลเซียมฟอสเฟต (มีน้ำ) 22 16
โมโนแคลเซียมฟอสเฟต (ไม่มีน้ำ) 25 17
โมโนไดแคลเซียมฟอสเฟต 21 18
• ไดแคลเซียมฟอสเฟต เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดฟอสฟอริคที่สกัดฟลูออรีนแล้ว
(defluorinated phosphoric acid) กับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้มี 2 ชนิดคือไดแคลเซียมฟอสเฟตชนิดมีน้ำในโครงสร้าง (dicalcium phos-
phate dihydrate: CaHPO . 2H O) หรือไดแคลเซียมฟอสเฟตชนิดที่ไม่มีน้ำในโครงสร้าง
2
4
(dicalcium phosphate anhydride: CaHPO ) ไดแคลเซียมฟอสเฟตทั้ง 2 ชนิดนี้มีค่าการ
4
ย่อยได้ของฟอสฟอรัสที่แตกต่างกัน โดยไดแคลเซี่ยมฟอสเฟตชนิดมีน้ำในโครงสร้างจะมีค่า
ฟอสฟอรัสย่อยได้สูงกว่าชนิดไม่มีน้ำในโครงสร้าง
• โมโนไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต เกิดจากการทำปฏิกิริยาของกรดฟอสฟอริคที่สกัด
ฟลูออรีนกับสารแคลเซียมคาร์บอเนทและน้ำ ผลผลิตที่ได้มีทั้งโมโนแคลเซียมฟอสเฟตและได
แคลเซียมฟอสเฟต ในอัตราส่วนโดยประมาณเท่ากับ 3:1 อัตราส่วนของฟอสเฟตแต่ละชนิด
ขึ้นอยู่กับการควบคุมสภาวะต่าง ๆ เช่น ความร้อน น้ำ และความดันในระหว่างการ
เกิดปฏิกิริยาเคมี ค่าการย่อยได้ของฟอสฟอรัสจากแหล่งเสริมต่างๆ ในอาหารสัตว์จะแตกต่าง
กันขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ ตลอดจนคุณสมบัติการละลายได้และกระบวนการผลิต (ตารางที่
12-13)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 229