Page 236 -
P. 236
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• แร่ธาตุเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร จะแตกตัวได้เป็นประจุอิสระ ซึ่งแร่ธาตุ
บางชนิดจะมีคุณสมบัติในการแก่งแย่งระหว่างกันในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากต้องใช้ตัว
พา (carrier) ตัวเดียวกันในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ถ้าหากแร่ธาตุชนิดใดมีปริมาณมากจะทำให้
การดูดซึมแร่ธาตุชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันลดลง ตัวอย่างเช่น แคลเซียม กับ สังกะสี หากอา-
หารมีแคลเซียมในระดับสูงจนเกินไป มีผลทำให้การดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีในอาหารลดลง สัตว์จะ
แสดงอาการขาดสังกะสีแม้ว่าในอาหารจะมีสังกะสีเพียงพอก็ตาม
• แร่ธาตุที่อยู่ในรูปประจุอิสระจะสามารถจับกับสารอาหาร เกิดเป็นสารประกอบที่ไม่
สามารถดูดซึมได้ เช่น การจับกับกรดไฟติคในอาหารกับแร่ธาตุเกิดเป็นสารไฟเตท (phytate:
รูปที่ 12-6) มีผลทำให้การใช้ประโยชน์ของแร่ธาตุลดลง และเพิ่มการขับแร่ธาตุออกทางมูล ซึ่ง
ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
รูปที่ 12-4: โครงสร้างของไฟเตท
ที่มา: Erdman (1979)
ในปัจจุบันจึงได้มีการผลิตแร่ธาตุในรูปที่จับกับสารประกอบอินทรีย์ เช่น เปปไทด์สายสั้น
กรดอะมิโน หรือไวตามินบางชนิดด้วยพันธะโควาเลนท์ (covalent bond) ซึ่งเป็นพันธะที่มี
ความเสถียรมาก (รูปที่ 12-5) ทำให้แร่ธาตุมีความคงตัวสูง ลดโอกาสที่จะไปจับกับสารอื่น ๆ
หรือการแก่งแย่งกันเองในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น จึง
สามารถลดปริมาณการใช้ในสูตรอาหารลง แร่ธาตุในรูปสารประกอบอินทรีย์นี้เรียกว่า แร่ธาตุ
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 233