Page 226 -
P. 226

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  แม้ว่าปลาป่นจะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีสำหรับสัตว์ แต่การใช้ปลาป่นในสูตรอาหารต้อง

                  ระมัดระวังในด้านต่าง ๆ ดังนี้

                        • การปนเปื้อนด้วยสารอะมีน (biogenic amines) เช่น gizzerosine และฮีสตา


                  มีน (histamine) ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต (รูปที่ 12-1) สารเหล่านี้จะกระตุ้นให้

                  มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารสูงขึ้นและทำให้เกิดการหลุดลอกของกิ๋น (gizzard) ในสัตว์ปีก

                        • ปัญหาการปลอมปน เนื่องจากปลาป่นมีราคาแพง ดังนั้นจึงมักประสบปัญหาการ

                  ปลอมปนด้วยวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าทั้งวัสดุเหลือจากโรงงานฆ่าสัตว์ เช่น


                  ขนไก่ป่น เนื้อป่น หนังสัตว์ เนื้อและกระดูกป่น ฯลฯ หรือโปรตีนจากพืช เช่น กากถั่วเหลือง

                  กากถั่วเขียว ตลอดจนการใช้ยูเรียและเกลือแอมโมเนียมเพื่อเพิ่มระดับโปรตีนในปลาป่นให้

                  สูงขึ้น


                        • ปัญหาปริมาณเกลือ ปลาป่นที่ผลิตภายในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมี

                  ระดับเกลือค่อนข้างผันแปรมาก (2-7%) ปลาป่นที่มีระดับเกลือสูงอาจจะก่อให้เกิดปัญหาถ่าย

                  เหลวในสัตว์ระยะเล็ก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับระดับเกลือในสูตรอาหารให้พอเหมาะ


                        • ปนเปื้อนด้วยเชื้อซัลโมแนลลา ปลาป่นมักประสบปัญหาการปนเปื้อนด้วยเชื้อซัล

                  โมแนลลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาป่นที่เก็บเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของ

                  สัตว์


















                                        รูปที่ 12-1: ปฏิกิริยาการเกิด biogenic amine ในปลาป่น

                                        ที่มา: Okazaki et al. (1983)



                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              223
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231