Page 218 -
P. 218
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาการท้องเสียในสัตว์เล็ก และยังพบสารอื่น ๆ อีกดังแสดงในตารางที่ 12-8 การผ่านความ
ร้อนมาอย่างเหมาะสมสามารถทำลายสารยับยั้งการใช้ประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้ได้
อย่างไรก็ตามหากกากถั่วเหลืองผ่านความร้อนสูงจนเกินไป (ถั่วไหม้) จะเกิดปฏิกิริยา
“Maillard reaction” ซึ่งเป็นผลเสียต่อค่าการย่อยได้ของโปรตีนและกรดอะมิโนในอาหารได้
เช่นกัน (ตารางที่ 12-9) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนไลซีน เนื่องจากไลซีนจะทำปฏิกิริยากับ
น้ำตาลเกิดเป็นสารประกอบที่สัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ตารางที่ 12-6: ค่าเอ็นไซม์ทริฟซินและไคโมทริฟซินในลำไส้เล็กสุกรที่ได้รับกากถั่วเหลืองที่สุก
และถั่วเหลืองที่ดิบ
เอ็นไซม์ กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองดิบ
ทริฟซิน (หน่วย/มล.) 38 4
ไคโมทริฟซิน (หน่วย/มล.) 17 2
ที่มา: Yen et al. (1977)
ตารางที่ 12-7: ค่าการย่อยได้ของโปรตีนและกรดอะมิโนจากผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่มีสาร
ยับยั้งทริฟซินแตกต่างกัน
ถั่วเหลืองดิบ ถั่วเหลืองไขมันเต็ม กากถั่วเหลือง
สารยับยั้งทริฟซิน (หน่วย) 20.9 4.8 1.2
ค่าการย่อยได้ (%)
โปรตีน 58 74 75
ไลซีน 60 71 77
ทรีโอนีน 52 66 73
เมทไธโอนีน 58 70 78
ที่มา: Henkel et al. (1992)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 215