Page 214 -
P. 214

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  ข้าวฟ่าง (sorghum) เป็นวัตถุดิบแหล่งให้พลังงานซึ่งมักใช้ทดแทนข้าวโพดหรือปลายข้าว มี

                  ระดับโปรตีนผันแปรอยู่ระหว่าง 9-12% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ระดับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้

                  สำหรับสุกรและสัตว์ปีกมีค่าประมาณ 3,200 กิโลแคลอรี่/กก. ระดับโปรตีนในข้าวฟ่างมักสูง

                  กว่าในข้าวโพด แต่ข้าวฟ่างมีกรดอะมิโนไลซีนต่ำกว่าข้าวโพด (ตารางที่ 12-4) อีกทั้งระดับสาร


                  ให้สีเหลืองของข้าวฟ่างต่ำกว่าในข้าวโพด (1.5 vs 16.0 มก./กก.) นอกจากนี้ในข้าวฟ่างมีสาร

                  แทนนิน (tannin) ซึ่งมีผลต่อการใช้ประโยชน์ของโปรตีนและทำให้อาหารมีรสฝาด สัตว์ไม่

                  ชอบกิน ข้าวฟ่างในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือสายพันธุ์ที่มีระดับแทนนินสูง และ

                  สายพันธุ์ที่มีระดับแทนนินต่ำ ในอาหารสัตว์กระพาะเดี่ยวสามารถใช้ข้าวฟ่างที่มีแทนนินต่ำ

                  ทดแทนการใช้ข้าวโพดในสูตรได้สูงถึง 75% แต่ต้องมีการปรับระดับกรดอะมิโนโดยเฉพาะไล


                  ซีนให้สมดุลด้วย ส่วนข้าวฟ่างที่มีแทนนินสูงมักใช้ในอาหารสัตว์ในระดับต่ำเนื่องจากมีผล-

                  กระทบต่อการกินและการใช้ประโยชน์จากอาหารของสัตว์


                  ตาราง 12-4: เปรียบเทียบระดับกรดอะมิโนที่จำเป็นในข้าวฟ่างและข้าวโพด


                             กรดอะมิโน                      ข้าวฟ่าง                  ข้าวโพด

                         เมทไธโอนีน                          0.17                      0.17

                         เมทไธโอนีนและซีสตีน                 0.34                      0.36
                         ไลซีน                               0.22                      0.26

                         ทรีโอนีน                            0.31                      0.29

                         ทริฟโตเฟน                           0.10                      0.06

                         อาร์จินีน                           0.38                      0.37
                         ไอโซลูซีน                           0.37                      0.28

                         ลูซีน                               1.21                      0.99

                         วาลีน                               0.46                      0.39

                         ฮีสติดีน                            0.23                      0.23

                         ฟีนิลอลานีน                         0.49                      0.39
                         ฟีนิลอลานีน และ ไทโรซีน             0.84                      0.64

                  ที่มา: NRC (1998)





                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              211
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219