Page 213 -
P. 213

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  น่ากินของอาหารลดลง สัตว์กินอาหารลดลง การใช้กากน้ำตาลในสูตรในระดับไม่เกิน 4% หรือ

                  การใช้ไขมันเสริมในสูตรอาหารจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

                         • การขาดสารให้สี สารให้สีมีความสำคัญมากในการผลิตสัตว์ปีกทั้งไก่เนื้อและไก่ไข่ มี


                  ผลให้ผิวหนังของไก่เนื้อและไข่แดงของไข่ไก่มีสีเข้มขึ้น แต่ในมันสำปะหลังขาดสารให้สี การใช้

                  มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ร่วมกับวัตถุดิบที่เป็นแหล่งสารให้สีทั้งสารให้สี

                  ธรรมชาติเช่น ใบกระถินซึ่งมี แซนโธฟิลล์ (xanthophyll) ในระดับสูง หรือการใช้สารให้สี

                  สังเคราะห์


                         • ไขมันต่ำและขาดกรดไขมันที่จำเป็น มันสำปะหลังมีไขมันต่ำกว่า 1 % จึงทำให้สัตว์

                  ได้รับไขมันและกรดไขมันที่จำเป็นน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพด อีกทั้งการใช้มันสำปะ-

                  หลังในระดับสูงในสุกรระยะขุนมีผลให้ไขมันในซากแข็ง เนื่องจากสัตว์ได้รับพลังงานเกินความ

                  ต้องการ ร่างกายสัตว์นำพลังงานส่วนเกินไปสร้างเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวแล้วสะสมในร่างกาย


                  โดยปกติไม่ควรใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ระยะเล็ก แต่อาหารสัตว์ระยะรุ่นและขุนสามารถ


                  ใช้ได้เต็มที่ ทั้งนี้จำเป็นต้องปรับระดับสารอาหารอื่น ๆ ในสูตรให้สมดุลและต้องคำนึงถึงต้นทุน

                  ค่าอาหารทั้งหมดด้วย สำหรับสัตว์กระเพาะรวมปกตินิยมใช้มันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานใน

                  อาหารข้นอยู่แล้ว


                  ข้าวโพด (corn) เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอาหารสัตว์ มีระดับโปรตีนประมาณ 6-8%

                  และไขมัน 4-7% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ระดับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้สำหรับสุกรและสัตว์ปีกมี


                  ค่าประมาณ 3,200-3,300 กิโลแคลอรี่/กก. ข้อดีของข้าวโพดคือมีสารให้สีเหลืองในระดับ

                  ค่อนข้างสูง ประมาณ 16 มก/กก จึงนิยมใช้ข้าวโพดเป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์ปีก อีกทั้งมี

                  ไขมันและกรดไขมันที่จำเป็น แต่ข้าวโพดมักขาดกรดอะมิโนไลซีนและทริฟโตเฟน จำเป็นต้องมี

                  การปรับระดับของกรดอะมิโนทั้ง 2 โดยการใช้ร่วมกับวัตถุดิบที่ให้โปรตีนหรือการเสริมกรดอะ

                  มิโนสังเคราะห์ ปัญหาที่พบในข้าวโพดคือการปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin)


                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของ

                  สัตว์โดยตรง





                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              210
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218