Page 208 -
P. 208

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                  1.3 ธัญพืช ในบางพื้นที่มีการปลูกธัญพืชเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ทั้งแบบปลูกเดี่ยว ๆ และปลูก

                  ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว ต้นธัญพืชมีคาร์โบไฮเดรทที่ละลายน้ำได้สูงและมีโปรตีนต่ำเช่นเดียวกับ

                  เมล็ดธัญพืช โดยทั่วไปมักจะมีโปรตีนอยู่ระหว่าง 8-12% คุณค่าทางอาหารของต้นธัญพืชจะผัน

                  แปรขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืชเมื่อทำการเก็บเกี่ยว พืชที่เจริญเต็มที่แล้วจะมีคุณค่า


                  ทางอาหารต่ำกว่าพืชที่เก็บเกี่ยวในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต


                  2. พืชหมัก (Silage) การหมักโดยจุลินทรีย์ภายใต้สภาพไร้ออกซิเจนเป็นกระบวนการในการ


                  เก็บรักษาพืชสดให้อยู่ได้นานขึ้น โดยมีคุณภาพใกล้เคียงกับพืชสด เพื่อวัตถุประสงค์เก็บไว้ใช้

                  ในช่วงที่หญ้าสดขาดแคลน นอกจากนี้พืชหมักที่ดีมักมีกลิ่นหอม สัตว์ชอบกินมาก กรรมวิธีใน

                  การทำพืชหมักมี 2 วิธีคือ

                  2.1 การหมักแบบธรรมชาติ เป็นการหมักพืชสดภายใต้สภาพไร้ออกซิเจน จุลินทรีย์จะเปลี่ยน

                  คาร์โบไฮเดรทในพืชได้เป็นกรดแลคติค มีผลทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของพืชหมักลดลงอยู่


                  ในช่วง 3.8-4.2 ภายใต้สภาวะนี้ทำให้สามารถเก็บรักษาพืชหมักไว้ได้นานตราบเท่าที่ไม่มีออกซิ-

                  เจน แต่ควรระมัดระวังมิให้มีออกซิเจนเข้าไปเนื่องจากจะทำให้ความเข้มข้นของกรดแลคติคไม่

                  เพียงพอ มีผลให้เชื้อจุลินทรีย์บางประเภทเช่นพวก Clostridium sp. สามารถเจริญขยายพันธุ์

                  ได้ทำให้พืชหมักเน่าเสียได้

                  2.2 การหมักโดยการเติมสารบางชนิด แบ่งออกเป็น 2 วิธี


                  2.2.1 การเสริมสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติค โดยทั่วไปมัก

                  เติมกากน้ำตาล (molasses) เพื่อให้จุลินทรีย์ใช้เป็นแหล่งของคาร์บอน มีผลให้มีการสร้างกรด

                  แลคติกเพิ่มขึ้น ลดค่าความเป็นกรด-ด่าง และลดระดับแอมโมเนียในพืชหมักลง นอกจากนี้การ

                  เสริมจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติคในรูปแห้ง เนื่องจากจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวในสภาพธรรมชาติมี

                  ความผันแปรมาก อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีสารคาร์โบไฮเดรทที่เพียงพอให้กับจุลินทรีย์เหล่านี้


                  ด้วย ดังนั้นในอุตสาหกรรมการทำพืชหมัก จึงมักเสริมเอ็นไซม์ที่ย่อยส่วนผนังเซลล์ของพืช อาทิ

                  เซลลูเลส (cellulase) และเฮมิเซลลูเลส (hemicellulase) พร้อม ๆ กับการเสริมจุลินทรีย์ที่

                  ผลิตกรดเลคติค เพื่อให้เอ็นไซม์ดังกล่าวย่อยสารประกอบพวกเยื่อใยในพืชให้ได้น้ำตาลซึ่งเป็น

                  แหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์





                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                                                              205
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213