Page 212 -
P. 212
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1 กลุ่มที่ให้พลังงาน เป็นกลุ่มที่มีแป้งหรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลัก ให้พลังงานสูง แต่มี
ปริมาณและคุณภาพของโปรตีนตลอดจนกรดอะมิโนค่อนข้างต่ำ
2. กลุ่มที่ให้โปรตีน เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีระดับโปรตีนและกรดอะมิโนสูงกว่ากลุ่มที่ให้
พลังงาน แต่มีแป้งหรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบอยู่ต่ำกว่าจึงให้พลังงานน้อยกว่า
3. กลุ่มแหล่งเสริมต่าง ๆ เป็นกลุ่มที่มีสารอาหารเฉพาะด้านในระดับสูงจึงมักใช้เสริมในกรณี
หลังจากการใช้วัตถุดิบกลุ่มที่ให้พลังงานและกลุ่มที่ให้โปรตีนในสูตรอาหารแล้วขาดสารอาหาร
บางชนิด เพื่อให้สัตว์ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ตามความต้องการ
วัตถุดิบกลุ่มให้พลังงาน วัตถุดิบที่นิยมใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์มักเป็นผลพลอยได้
จากการสีข้าว พืชหัว หรือเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ อาทิ
มันสำปะหลัง (cassava) มันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานที่ดีเพราะประกอบด้วยแป้งที่มี
คุณภาพดี ย่อยได้ง่าย มีระดับพลังงานที่ย่อยได้ประมาณ 3,200–3,400 กิโลแคลอรี่/กก.ขึ้นกับ
ปริมาณแป้ง ซึ่งประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังได้ในปริมาณมากแต่การนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์
จำเป็นต้องระมัดระวังเนื่องจากมันสำปะหลังมีข้อบกพร่องบางประการคือ
• มันสำปะหลังมีระดับโปรตีนต่ำโดยเฉลี่ยประมาณ 2% เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่ง
พลังงานอื่น ๆ เช่นข้าวโพด หรือปลายข้าว ตลอดจนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่าง ๆ โดยเฉพาะ
เมทไธโอนีนต่ำ ทำให้จำเป็นต้องใช้แหล่งโปรตีนและกรดอะมิโนสังเคราะห์ในอาหารสูงขึ้น เมื่อ
มีการใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารมากขึ้น
• มีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid: HCN) หรือ Prussic acid
ซึ่งมีค่าผันแปรตั้งแต่ 15 ถึง 400 มก/กก. ตามสายพันธุ์ ในขณะที่ระดับที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์
คือต่ำกว่า 100 มก./กก ในหัวมันสดจะมีระดับ HCN สูง การตากแดดให้เหลือความชื้นเพียง
14% จะสามารถลดระดับของ HCN ได้ถึง 80% นอกจากนี้ร่างกายสัตว์มีความสามารถทำลาย
สาร-พิษ HCN ได้เมื่อได้รับในระดับต่ำ
• ความยุ่งยากในขั้นตอนการผสมอาหาร เนื่องจากแป้งที่อยู่ในมันสำปะหลังเป็นแป้ง
อ่อนเมื่อแห้งแล้วบดละเอียดจะมีลักษณะเป็นฝุ่น ทำให้เกิดความสูญเสียมากและมีผลให้ความ
วัตถุดิบอาหารสัตว์ 209