Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระเพาะบด (gizzard) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่คล้ายกับฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดย
ภายในกระเพาะบดมีก้อนกรวดเล็ก ๆ สำหรับบดและลดขนาดอนุภาคอาหารลง
ไส้ติ่ง
ตับ
กระเพาะพัก
รูปที่ 2-5: ส่วนประกอบระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปีก
ที่มา: Bondi (1987)
ในส่วนของลำไส้เล็กจะมีการหลั่งเอ็นไซม์เช่นเดียวกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยกเว้นไม่มี
เอ็นไซม์แลคเตส (lactase) ลำไส้ใหญ่ส่วนไส้ติ่งและโคลอน มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูดซึมน้ำ
กลับเข้าสู่ร่างกาย อาจพบการย่อยสารกลุ่มเยื่อใยจากปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ในส่วนไส้ติ่ง แต่
ระดับที่เกิดขึ้นต่ำกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาก อย่างไรก็ตามการย่อยได้และการใช้ประโยชน์ได้
ของสารอาหารในสัตว์ปีกจะใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2. สัตว์กระเพาะรวม (ruminant animals)
ระบบทางเดินอาหารของสัตว์กระเพาะรวมแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น โดยใน
ปากไม่พบฟันบนและลักษณะรูปร่างของฟันล่างพัฒนาให้เหมาะสมกับการเคี้ยวอาหารหยาบ
หรืออาหารที่มีเยื่อใยสูงและมีการผลิตน้ำลายในปากค่อนข้างมากถึงวันละมากกว่า 150 ลิตรใน
โคโตเต็มวัย ในน้ำลายจะเป็นแหล่งของสารไนโตรเจน (ยูเรียและสารมิวโคโปรตีน) ฟอสฟอรัส
และโซเดียมซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน ส่วนกระเพาะอาหารสามารถ
การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร 15