Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     เอ็นไซม์ที่ย่อยโปรตีน (proteolytic enzymes) และเซลล์พาเรียทาล (parietal cell) หรือ

                     เซลล์ออกซินติค (oxyntic cells) ที่ทำหน้าที่หลั่งกรดเกลือ (hydrochloric acid : HCl)






                                                 หลอดอาหาร
                             ปาก
                                                           ลำไส้เล็ก





                                                                            โคลอน
                                        กระเพาะอาหาร                 ไส้ติ่ง



                                   รูปที่ 2-1 : ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (สุกร)

                                   ที่มา: Bondi (1987)


                     ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นส่วนหลักที่มีการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร สัตว์แต่

                     ละชนิดมีขนาดของลำไส้เล็กแตกต่างกัน (ตารางที่ 2-1) ประกอบด้วย ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือดู

                     โอดินัม (duodenum) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการหลั่งเอ็นไซม์ต่าง ๆ นอกจากนี้เอ็นไซม์ที่หลั่งจาก

                     ตับอ่อน (pancreas) จะมาเชื่อมเข้าตรงบริเวณนี้เช่นเดียวกัน ลำไส้เล็กส่วนกลางหรือเจจูนัม


                     (jejunum) เป็นบริเวณหลักที่มีการดูดซึมสารอาหารไปจนถึงส่วนต้นของลำไส้เล็กส่วนปลาย

                     หรือไอเลียม (ileum) การดูดซึมในลำไส้เล็กผ่านวิลไล (villi)  ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือเล็กๆ

                     เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม (รูปที่ 2-3) แต่ละวิลไลประกอบด้วยเส้นเลือด arteriole

                     และ venule และท่อน้ำเหลือง (lacteal) โดย venule จะไหลเข้าสู่ตับโดยตรง ส่วนท่อ

                     น้ำเหลืองจะไหลผ่านไปยัง thoracic duct ก่อนเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ vena cava อีกทีหนึ่ง



                     ลำไส้ใหญ่ (large intestine)  เป็นส่วนทางเดินอาหารส่วนสุดท้ายประกอบด้วยไส้ติ่ง


                     (caecum) โคลอน (colon) และเรคตัม (rectum) ซึ่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิด

                     ของสัตว์ แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าลำไส้เล็ก สำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยวที่กินพืชเป็น

                     อาหาร (herbivorous) เช่น ม้า (รูปที่ 2-4) จะมีขนาดของไส้ติ่งใหญ่กว่าสัตว์ที่กินเนื้อ

                     (cannivorous) หรือสัตว์กินเนื้อร่วมกับกินพืชเป็นอาหาร (omnivorous)





                     การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร                                                     12
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20