Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตลอดจนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ต่าง ๆ อีกทั้งเป็นโคเฟคเตอร์ของเอ็นไซม์ไท
โรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งทำการเปลี่ยนกรดอะมิโนไทโรซีนไปเป็นสารเมลานิน (melanin) ที่
เป็นสารสีชนิดหนึ่งในร่างกาย (รูปที่ 9-4) แร่ธาตุทองแดงมีความสัมพันธ์กับแร่ธาตุโมลิบดินัม
สังกะสีและแคดเมียม การมีแร่ธาตุเหล่านี้ในระดับสูงจะรบกวนการดูดซึมและเมแทบอลิซึม
ของทองแดง ทำให้ร่างกายสัตว์ได้รับทองแดงไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการโลหิตจาง และ
การเจริญเติบโตลดลง เส้นเลือดเปราะทำให้มีจุดเลือดออกตามร่างกาย
OH
tyrosinase OH phenoloxidase O
CH Cu
2
NH CHCOOH OH NH COOH O NH COOH
2
2
2
tyrosine DOPA DOPAquinone
polymerization O
Melanin
O N COOH
DOPAchrome
รูปที่ 9-4: ความสัมพันธ์ของแร่ธาตุทองแดงกับการสังเคราะห์สารเมลานิน
• สังกะสี (Zn) สังกะสีเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนอินซูลินและเอ็นไซม์หลายชนิด อาทิ
แอลคาไลด์ฟอสฟาเตส (alkaline phosphatase) คาร์บอกซีเปปติเดส และคาร์บอนิคแอนไฮ
เดรส (carbonic anhydrase) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย (รูปที่
9-5) และเกี่ยวข้องกับการสะสมแคลเซียมในกระดูกและการสร้างเปลือกไข่ นอกจากนี้แร่ธาตุ
สังกะสีทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิค การใช้ประโยชน์ของธาตุสังกะสีจากอาหารมีความ
เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุชนิดอื่น เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง แคดเมียม และกรดไฟติคใน
อาหาร หากมีแร่ธาตุเหล่านี้สูงเกินไปจะทำให้การดูดซึมของธาตุสังกะสีลดลง สัตว์แสดง
อาการขาดสังกะสีได้ ในสุกรเกิดโรคขี้เรื้อนหรือ“parakeratosis”เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ตาย
แร่ธาตุ 148