Page 150 -
P. 150

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     ด้วยกลไกนี้  โดยขึ้นกับจำนวนของโปรตีนอะโพเฟอร์ริตินที่มีอยู่ที่เซลล์ผนังลำไส้เล็ก หากอะ

                     โพเฟอร์ริตินถูกเปลี่ยนไปเป็นเฟอร์ริตินหมดแล้ว ธาตุเหล็กจะไม่สามารถถูกดูดซึมได้


                                              ผนังลำไส้          ไวตามินซี


                          อาหาร (Fe )           Fe  + apoferritin    ferritin (Fe )         สะสมที่ตับและม้าม
                                 +3
                                             +2
                                                                         +3

                        Ferroxidase (ceruloplasmin) & ไวตามินซี


                                    +2
                          ในพลาสมา: Fe  + apotransferrin         transferrin (Fe )            เนื้อเยื่อเป้าหมาย
                                                                        +3


                                     รูปที่ 9-3: การดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของแร่ธาตุเหล็ก



                     ธาตุเหล็กมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ การพาออกซิเจนไปเลี้ยงตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ  รวมทั้ง


                     พาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อมายังปอดเพื่อหายใจออก และเป็นส่วนประกอบของ

                     เอ็นไซม์ที่สำคัญ คือ cytochrome reductase และ xanthine oxidase โดยทั่วไปสัตว์ที่มี

                     ร่างกายสมบูรณ์จะมีความต้องการแร่ธาตุเหล็กจากอาหารในปริมาณน้อยมาก เนื่องจากเซลล์

                     เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจะถูกทำลายและได้ธาตุเหล็กอิสระ ซึ่งร่างกายสามารถนำกลับมาใช้

                     ในการสร้างฮีโมโกลบินใหม่เกิดเป็นวงจรหมุนเวียน มีธาตุเหล็กที่ถูกขับออกเพียง 10%เท่านั้น


                     สำหรับสัตว์ระยะเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสุกรหลังคลอดจำเป็นต้องเสริมธาตุเหล็กโดยการ

                     ฉีดเข้าร่างกายในรูปของไอรอนเด็กซ์แทน (iron dextrans) เนื่องจากสัตว์มีความสามารถใน

                     การถ่ายทอดธาตุเหล็กสู่น้ำนมได้ต่ำมาก ทำให้ปริมาณธาตุเหล็กในน้ำนมแม่มีไม่เพียงพอกับ

                     ความต้องการ การขาดธาตุเหล็กทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตลดลงและแสดงอาการ “โรคโล-

                     หิตจาง”



                     • ทองแดง (Cu) เป็นแร่ธาตุที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ของธาตุเหล็ก โดยเป็น

                     องค์ประกอบของเอ็นไซม์เซรูโลพลาสมิน (ceruloplasmin) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแร่ธาตุ

                                                        +3
                                                                                    +2
                     เหล็กจากอาหารในรูปของเฟอร์ริค (Fe ) ให้อยู่ในรูปของเฟอร์รัส (Fe ) ก่อนดูดซึมเข้าสู่
                     ร่างกาย (รูปที่ 9-3) และเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์สารคอลลาเจน (collagen)




                     แร่ธาตุ                                                                         147
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155