Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้ยังพบกำมะถันในรูปสารอนินทรีย์ เช่น รูปซัลเฟตในกระแสเลือด สัตว์ได้รับแร่ธาตุ
กำมะถันจากโปรตีนในอาหารในระดับที่เพียงพอ ทำให้ลักษณะอาการขาดกำมะถันไม่เด่นชัด
ส่วนใหญ่การขาดกำมะถันมักแสดงออกถึงการขาดโปรตีนด้วย อย่างไรก็ตามในระยะที่สัตว์
งอกขนจะมีความต้องการกำมะถันมากกว่าปกติ จำเป็นต้องให้กำมะถันในรูปโปรตีนมากขึ้น
หรือในอาหารสัตว์กระเพาะรวมซึ่งมักใช้ยูเรียทดแทนไนโตรเจนบางส่วนจากโปรตีน อาจทำ
ให้ได้รับกำมะถันเพื่อใช้สำหรับการสังเคราะห์กรดอะมิโนซีสติน ซีสเตอีน และเมทไธโอนีนใน
ปริมาณจำกัด ดังนั้นการเสริมกำมะถันในอาหารที่มียูเรียจะช่วยทำให้การสร้างโปรตีนของ
จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนดีขึ้น
กลุ่มแร่ธาตุปลีกย่อย
เป็นกลุ่มที่พบในร่างกายในปริมาณน้อยมากแต่มีบทบาทสำคัญในร่างกายสัตว์ โดยเป็นตัวเร่ง
หรือตัวยับยั้ง หรือเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ที่มีแร่ธาตุในโครงสร้าง (metalloenzyme)
ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารอาหารหลักในร่างกาย โดยสัตว์จะได้รับแร่
ธาตุเหล่านี้จากอาหารและจากการปลดปล่อยของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งร่างกายมีกลไกในการ
ควบคุมระดับของแร่ธาตุเหล่านี้ให้อยู่ในสมดุลอยู่เสมอ
• เหล็ก (Fe) ธาตุเหล็กส่วนใหญ่ที่พบในร่างกายเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินของเซลล์
เม็ดเลือดแดง (60-70%) และไมโอโกลบิน (myoglobin) ในกล้ามเนื้อ (3-7%) ส่วนที่เหลือ
เก็บสะสมที่ตับ ม้าม ไต และกระดูกไขสันหลังในรูปของทรานสเฟอร์ริน (transferrin) เฟอร์ริ
ติน (ferritin) และฮีโมซิเดอร์ริน (hemosiderin) ธาตุเหล็กจากอาหารที่อยู่ในรูปของเฟอร์
+3
+2
ริค (ferric: Fe ) จำเป็นต้องถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของเฟอร์รัส (ferrous: Fe ) ก่อนแล้ว
รวมตัวกับโปรตีนชนิดหนึ่งคือ อะโพเฟอร์ริติน (apoferritin) ก่อนจึงจะดูดซึมบริเวณลำไส้
เล็กเข้าสู่ร่างกายได้ จากนั้นจะถูกเก็บสะสมที่ตับ และม้ามในรูป เฟอร์ริติน เมื่อสัตว์ต้องการ
ใช้ธาตุเหล็ก เฟอร์ริตินจะปล่อยธาตุเหล็กให้กับโปรตีนที่ชื่อว่าอะโพทรานสเฟอร์ริน (apo-
transferrin) ได้เป็นสารทรานสเฟอร์รินในเลือดแล้วทรานสเฟอร์รินจะพาธาตุเหล็กไปยัง
เนื้อเยื่อเป้าหมายต่อไป (รูปที่ 9-3) ร่างกายสามารถควบคุมการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร
แร่ธาตุ 146