Page 147 -
P. 147
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การป้องกัน สามารถทำได้โดยให้อาหารที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อยและ
เสริมไวตามินดีในอาหารให้แก่แม่โคก่อนคลอด จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์และลดการเกิดอาการไข้นมได้
• แมกนีเซียม (Mg) แมกนีเซียมส่วนใหญ่พบอยู่ในกระดูก คือประมาณร้อยละ 90 ของทั้ง-
หมด ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ตามของเหลวและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น น้ำลายหรือเอ็นไซม์ใน
ระบบทางเดินอาหาร มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยใน
การสังเคราะห์โปรตีน กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้าย
กลุ่มฟอสเฟต เช่นเอ็นไซม์ฟอสเฟตทรานสเฟอเรส (phosphatetransferase) แมกนีเซียมยัง
เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลด์ซึ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์แสงของพืช
แมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหาร ถ้าระดับแมกนีเซียม
ในอาหารสูงจะมีผลให้สัตว์ต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงขึ้นด้วย และฟอสฟอรัสใน
ระดับสูงมีผลให้การดูดซึมแมกนีเซียมลดลงและเพิ่มอัตราการสูญเสียแมกนีเซียมทางมูล สัตว์
ที่ขาดแมกนีเซียมจะมีการเจริญเติบโตต่ำ มีความไวต่อการสัมผัสทางประสาท กล้ามเนื้อกระ-
ตุก ระดับแมกนีเซียมในพลาสมาต่ำลง ซึ่งมักพบในโค-กระบือที่กินหญ้าอ่อนในปริมาณมาก
เกิดอาการที่เรียกว่า“Grass tetany” ในกรณีเป็นแบบเฉียบพลันสัตว์จะชักและตายในที่สุด
เนื่องจากหญ้าอ่อนมีระดับโปตัสเซียมและโปรตีนสูง ซึ่งจะยับยั้งการดูดซึมของแมกนีเซียมทำ
ให้ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ สำหรับสุกรและสัตว์ปีกมักได้รับแมกนีเซียมจาก
อาหารอย่างเพียงพอ
โปตัสเซียม (K) โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) แร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้มีความสัมพันธ์กัน
อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่พบในส่วนของเหลวภายในร่างกาย โดยพบโปตัสเซียมส่วนใหญ่ใน
ของเหลวภายในเซลล์ (intracellular fluids) ส่วนโซเดียมและคลอไรด์พบมากในของเหลว
ภายนอกเซลล์ (extracellular fluids) ในช่วงที่มีการส่งกระแสประสาทและการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ โปตัสเซียมจะเคลื่อนตัวออกจากเซลล์ในขณะที่โซเดียมเคลื่อนเข้าไปในเซลล์ และ
โปตัสเซียมจะเคลื่อนกลับเข้าไปในเซลล์เมื่อโซเดียมเคลื่อนตัวออกมา นอกจากนี้ยังมีบทบาท
แร่ธาตุ 144