Page 143 -
P. 143
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 9-2: บทบาทของแร่ธาตุปลีกย่อยในการเป็นโคแฟคเตอร์ของเอ็นไซม์
แร่ธาตุ เอ็นไซม์ หน้าที่
เหล็ก (Fe) • succinate • ปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรท
dehydrogenase • การขนส่งอิเล็กตรอน
• cytochromes a, b, c
ทองแดง (Cu) • cytochrome oxidase • ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
• ceruloplasmin • การใช้ประโยชน์ของธาตุเหล็ก
(ferroxidase)
สังกะสี (Zn) • carbonic anhydrase • การสร้างคาร์บอนไดออกไซด์
• carboxypeptidase A • การย่อยโปรตีนในลำไส้เล็ก
แมงกานีส (Mn) • pyruvate carboxylase • เมแทบอลิซึมของไพรูเวท
• superoxide dismutase • การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน
โมลิบดินัม (Mo) • xanthine • เมแทบอลิซึมของเพียวรีน
dehydrogenase
ซีลีเนียม (Se) • glutathione peroxidases • การกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
• Type I & II deiodinases • การเปลี่ยนฮอร์โมนไทรอกซินให้อยู่ในรูปที่
ทำงานได้
การควบคุมสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย
แร่ธาตุที่พบในร่างกายสัตว์จะอยู่ในสภาพที่เคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา (dynamic status) โดย
มีกลไกในการควบคุมระดับในเลือดให้อยู่ในสภาวะสมดุล ดังแสดงในรูปที่ 9-1 โดยเริ่มจาก
ขั้นตอนการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกกำหนดด้วยโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวพา ซึ่งตามปกติจะ
เกาะกับแร่ธาตุอยู่และจะถ่ายให้กับเนื้อเยื่อที่ต้องการแร่ธาตุชนิดนั้น จากนั้นโปรตีนตัวพา
อิสระจึงจะสามารถมารับแร่ธาตุจากผนังลำไส้ได้ แร่ธาตุจากอาหารที่ไม่ถูกดูดซึมกับแร่ธาตุที่
ได้จากเนื้อเยื่อที่หมดอายุจะถูกขับออกพร้อมกับมูล ส่วนแร่ธาตุที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะรวม-
แร่ธาตุ 140