Page 138 -
P. 138
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในสัตว์ปีกพบการเจริญของขนช้าและเกิดการรบกวนการสร้างเม็ด
สีของขน
Folate
DNA
dihydrofolate (FH 2)
dTMP
thymidylate synthetase tetrahydrofolate (FH 4) methionine
dUMP serine
glycine
5,10 methylene FH 4 B 12
5-methyl FH 4 homocysteine
รูปที่ 8-9: บทบาทของกรดโฟลิคในร่างกายสัตว์
• ไบโอติน (biotin) เป็นไวตามินที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับไทอามีน พบ
มากในตับ ยีสต์ พืชใบเขียว ไบโอตินที่พบตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ คือรูปที่เกาะติดกับสาร
อื่น (bound biotin) พบประมาณ 40% เป็นรูปแบบที่สัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
และรูปไบโอตินอิสระ (free biotin) อีก 60% เป็นรูปที่สัตว์นำไปใช้ได้ โดยไบโอตินเป็นส่วน-
ประกอบของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายหมู่คาร์บอกซิล (carboxylases)
ซึ่งมีบทบาทในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน ไบโอตินเป็นไวตามินที่มีสาร
ต้านไวตามินชื่อว่า อะวิดิน (avidin) ซึ่งเป็นสารที่ขับมาจากท่อไข่ของไก่และสะสมในไข่ขาว
สารอะวิดินนี้สามารถรวมตัวกับไบโอตินทำให้เกิดสารประกอบ“avidin-biotin-complex”
ซึ่งเอ็นไซม์ในร่างกายสัตว์ไม่สามารถย่อยได้ แต่สารอะวิดินนี้สามารถถูกทำลายได้ด้วยความ
ร้อน การขาดไบโอตินมีผลทำให้สัตว์แสดงอาการคล้ายกับการขาดกรดแพนโตธินิค คือเกิดอา-
การโรคผิวหนัง แต่เกิดที่เท้าก่อนแล้วจึงขยายไปที่ปาก
• โคลีน (choline) เป็นไวตามินบีชนิดหนึ่งมีบทบาทในการเป็นองค์ประกอบของสารอะ
ซิทิลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งมีความสำคัญในระบบ parasympathetic nervous
ไวตามิน 135