Page 133 -
P. 133
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฟอสฟอริลเลชัน (phosphorylation) ในอาหารสัตว์พบไวตามินอีมากในรำข้าวและพืชสีเขียว
แต่ในเมล็ดธัญพืชมีน้อยมาก
LH L* + O LO *
2
2
LO * LOOH (lipid peroxide)
2
OH O*
O R O R
-tocopherol tocopheryl radical
ascorbic acid
รูปที่ 8-7: กลไกการทำงานของไวตามินอีในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน
(LH = กรดไขมัน; L*, LO * = อนุมูลอิสระ)
2
ที่มา: Niki (1993)
อาการขาดไวตามินอี
1. อาการไข้สมองอักเสบ (encephalomalacia) เกิดจากการมีเลือดคั่งในสมองส่วน
cerebellum เนื่องจากไขมันในเส้นเลือดถูกออกซิไดซ์ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สูญเสียสภาพ
2. อาการบวมน้ำ (exudative diathesis) เป็นอาการที่มีน้ำใส ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง
เนื่องจากเส้นเลือดฝอยมี permeability สูงมาก เพราะขาดไวตามินอี
3. อาการกล้ามเนื้อตาย (muscular dystrophy) เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อถูกทำลายทำให้
กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต
4. ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้สัตว์ผสมไม่ติด
ความสัมพันธ์ของไวตามินอีกับสารอาหารชนิดอื่น
ความต้องการไวตามินอีมีความสัมพันธ์กับแร่ธาตุซิลีเนียม กรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์-
ประกอบ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว สารต้านการออกซิเดชัน ระดับโปรตีนและไวตามินเอในอาหาร
ไวตามิน 130