Page 129 -
P. 129

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                                     all-trans-retinol

                           alcohol dehydrogenase              dark

                                     all-trans-retinaldehyde             11-cis-retinaldehyde

                                   energy                     opsin


                                                                                    retinene
                                             light                                  isomerase
                                                             rhodopsin


                                          รูปที่ 8-3:  กลไกของไวตามินเอต่อการมองเห็น

                                          ที่มา:  McDonald et al. (2002)



                     4. จำเป็นสำหรับคุณสมบัติการให้สารเคลื่อนผ่านเข้าออกของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell mem-

                     brane permeability) และการคงรูปของเยื่อหุ้มเซลล์ การได้รับไวตามินเอมากหรือน้อย


                     เกินไปทำให้รูปร่างของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติและแตก เกิดอาการ

                     “ฮีโมไลซีส (hemolysis)” หรือการทำลายเม็ดเลือดแดง

                     5. การเจริญของกระดูก มีบทบาทต่อการควบคุมการทำงานของเซลล์ osteoclasts และ

                     osteoblast ของกระดูก cartilage สัตว์ที่ได้รับไวตามินเอน้อยเกินไปจะมีการเจริญของ

                     กระดูกช้า


                     6. รักษาความดันของของเหลวในกระดูกสันหลัง ถ้าได้รับไวตามินน้อยเกินไปจะแสดง

                     อาการทางประสาท เช่น เป็นอัมพาต เดินไม่ได้เนื่องจากความดันของไขกระดูกสันหลังสูง

                     เกินไป

                     7. การสร้างฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรน (corticosterone) การขาดไวตามินเอทำให้ต่อม

                     เหนือไต (adrenal gland) พิการ และการสร้างฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนลดลง ส่งผลให้การ


                     สร้างกลูโคสจากวิถีกลูโคนีโอเจนเนซีสลดลง

                     • ไวตามิน ดี เป็นไวตามินที่มีบทบาทต่อการดูดซึมและเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและ

                     ฟอสฟอรัส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการสร้างกระดูกและระบบโครงร่างของสัตว์ ไวตามินดีที่พบใน


                     เนื้อเยื่อพืช เรียกว่า“ไวตามินดี2 หรือ ergocalciferol” และในเนื้อเยื่อสัตว์เรียกว่า“ไวตา-




                     ไวตามิน                                                                         126
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134