Page 125 -
P. 125

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     ตาราง 8-1: เปรียบเทียบคุณสมบัติของไวตามินที่ละลายในน้ำและไวตามินที่ละลายในไขมัน


                                 ไวตามินที่ละลายในน้ำ                    ไวตามินที่ละลายในไขมัน


                      •  มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์      •  มีบทบาทแบบเฉพาะเจาะจง


                      •  เคลื่อนย้ายในเซลล์เม็ดเลือด              •  เคลื่อนย้ายในพลาสมา

                      •  ปริมาณที่พบในร่างกายคงที่                •  พบมากเฉพาะในบางเนื้อเยื่อเท่านั้น


                      •  สามารถเก็บสะสมได้น้อยส่วนเกินขับออก •  สามารถสะสมตามเนื้อเยื่อเช่น ตับ และ

                         ทางปัสสาวะ                                  adipose tissue

                      •  ควบคุมความสมดุลของของเหลวภายใน •  จำเป็นต่อการเจริญของเนื้อเยื่อ ช่วยให้

                          ร่างกาย                                    โครงสร้างของเนื้อเยื่อเป็นปกติ

                      •  พบสารต้านไวตามิน (anti-vitamin)          •  ไม่พบสารต้านไวตามิน




                     บทบาทของไวตามิน


                     กลุ่มไวตามินที่ละลายในไขมัน


                     • ไวตามินเอ ไวตามินเอมี 3 รูปคือรูปแอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่า เรตินอล (retinol) รูปแอล

                     ดีไฮด์ (aldehyde) หรือเรตินาล (retinal) และรูปกรดคือกรดเรติโนอิค (retinoic acid) ไว

                     ตามินเอที่พบในเนื้อเยื่อสัตว์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


                           • ไวตามิน A  พบในปลาน้ำเค็ม และเนื้อเยื่อสัตว์ต่าง ๆ
                                       1

                           • ไวตามิน A  พบในปลาน้ำจืด
                                       2

                     ส่วนในพืชพบไวตามินเออยู่น้อยมาก เช่น ข้าวโพดมีไวตามินเอแอคทิวิตี้ (activity) เพียง 8

                     หน่วยสากล (IU) ต่อกรัม โดย 1 IU=1 International Unit=0.3 ไมโครกรัมไวตามินเอในรูป

                     ผลึกของแอลกอฮอล์หรือเท่ากับ 0.344 ไมโครกรัมของไวตามินเออะซิเตทหรือ 0.6 ไมโคร-

                     กรัมเบต้า-คาโรทีน พืชสีเขียวมีไวตามินเอไม่เกิน 550 IU/กรัม การใช้คำว่าไวตามินเอแอคทิ






                     ไวตามิน                                                                         122
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130