Page 130 -
P. 130
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มินดี3 หรือ cholecalciferol”(รูปที่ 8-4) สัตว์สามารถสร้างไวตามินดี3 จากสารต้นตอที่
บริเวณผิวหนังคือสาร 7-dehydrocholesterol ซึ่งสร้างมาจากคอเลสเตอรอล สารต้นตอนี้
เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลท (UV) จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไวตามินดี3 และดูดซึมผ่านผิวหนัง
เข้ากระแสเลือดเพื่อไปเก็บไว้กับไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สามารถใช้ประโยชน์ทั้งไวตามินดี2 และ ดี3 ได้ใกล้เคียงกัน แต่สัตว์ปีกใช้ประโยชน์ไวตามิน
ดี3 ได้มากกว่าไวตามินดี2 ประมาณ 35 เท่า ดังนั้นไวตามินดีที่เสริมในอาหารสัตว์จึงมักอยู่ใน
รูปของไวตามินดี3
CH 3 CH 3 CH 3 CH 3 CH 3
CH 3 CHCH CHCH CHCH 3 CH 3 CHCH 2 CH 2 CH 2 CHCH 3
H 2 C H 2 C
HO HO
ไวตามินดี2 ไวตามินดี3
รูปที่ 8-4: โครงสร้างไวตามินดี2 และ ดี3
ไวตามินดีในอาหารจะถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมและไอเลียมในรูปของอนุภาค
ไขมันโดยอาศัยน้ำดี แล้วเดินทางไปตามระบบน้ำเหลืองเข้าสู่ thoracic duct เพื่อเข้าสู่
กระแสเลือดและเดินทางสู่ตับต่อไป ที่ตับไวตามินดี3จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ 25-
hydro-xycholecalciferol จากนั้นจะถูกพาไปสู่ไตและถูกเปลี่ยนอยู่ในรูป 1, 25
dihydroxy-cholecalciferol หรือ 24, 25 dihydroxycholecalciferol ขึ้นกับสภาวะ
ของระดับแคลเซียมในเลือด (รูปที่ 8-5) ซึ่งไวตามินดีทั้งสองรูปแบบนี้มีบทบาทในการควบคุม
เมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
หน้าที่ของไวตามินดี
1. การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากระบบทางเดินอาหาร ไวตามินดีมีผลต่อการสร้าง
โปรตีนซึ่งเป็นตัวพาแคลเซียม (Ca-transporting protein) ที่ผนังลำไส้ โดยกระตุ้นการสร้าง
ไวตามิน 127