Page 135 -
P. 135
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไวตามินเคไม่เพียงพอจะแสดงอาการเลือดไหลไม่หยุดและเลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผล
สัตว์กระเพาะรวมไม่จำเป็นต้องได้รับไวตามินเคจากอาหาร เนื่องจากจุลินทรีย์ในกระเพาะ
รูเมนสามารถสังเคราะห์ได้อย่างเพียงพอ สำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สุกรหรือสัตว์ปีกที่
เลี้ยงบนโรงเรือนที่ไม่ได้สัมผัสดินหรือไม่มีโอกาสได้กินมูลตัวเอง จำเป็นต้องได้รับไวตามินเค
เสริมจากอาหาร นอกจากนี้ในกรณีอาหารสัตว์ปีกที่มีการใช้ยาป้องกันโรคบิด (coccidiostat)
เช่น ซัลฟาควินอกซาลีน จำเป็นต้องเสริมไวตามินเคในอาหารด้วยเนื่องจากยาเหล่านี้สามารถ
ทำลายแบคทีเรียที่สร้างไวตามินเคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ทำให้ความต้องการไวตา-
มินเคจากอาหารของสัตว์เพิ่มขึ้น
กลุ่มไวตามินที่ละลายในน้ำ
• ไวตามินบี1 หรือไทอามีน (thiamin) เป็นไวตามินที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ มี
ความสัมพันธ์กับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรทโดยตรง ไทอามีนจากอาหารจะถูกดูดซึมที่
ลำไส้เล็กและทำปฏิกิริยาฟอสฟอริลเลชันกับ ATP ได้สารประกอบที่เรียกว่าไทอามีนไพโร
ฟอสเฟต (thiamin pyrophosphate) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโคเอ็นไซม์ในปฏิกิริยาการเคลื่อน-
ย้ายหมู่คาร์บอกซิลของกรดไพรูวิคเพื่อให้ได้อะซิติล-โคเอก่อนเข้าวัฏจักรเครบ และมีบทบาท
ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนวาลีนของแบคทีเรีย ยีสต์ และพืช ในปลาดิบจะพบสารต้านไว
ตามินไทอามีนคือ เอ็นไซม์ไทอามิเนส (thiaminase) ซึ่งจะย่อยไทอามินทำให้สูญเสียสภาพ
แต่ไทอามิเนสจะถูกทำลายด้วยความร้อน สัตว์ที่ได้รับไทอามีนไม่เพียงพอจะแสดงอาการเบื่อ
อาหาร ซูบผอม มีความผิดปกติของระบบประสาทเพิ่มขึ้น ในไก่เกิดอาการกล้ามเนื้อขา ปีก
และคอเป็นอัมพาต ซึ่งเรียกว่า “star gazing” ทั้งนี้เกิดจากการสะสมกรดไพรูวิคในเนื้อเยื่อ
อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของกรดไพรูวิคเป็นกรดแลคติคในเนื้อเยื่อมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อเกิด
ความอ่อนแอและเกิดความผิดปกติของสมองจากการขาดพลังงาน ทั้งนี้เพราะเซลล์ประสาท
จะต้องได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทเพียงแหล่งเดียว
• ไวตามินบี2 หรือไรโบฟลาวิน (riboflavin) ไรโบฟลาวินที่พบในเนื้อเยื่อสัตว์อยู่ในรูป
ฟลาวินอะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ (flavin adenine dinucleotide: FAD) ฟลาวินโมโนนิวคลีโอ
ไวตามิน 132